เสาเข็มรูปตัวไอ
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงรูปตัวไอ คือ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ที่มีหน้าตัดเป็นรูปตัวไอ มีหลายขนาด ขนาด เสาเข็มรูปตัวไอ มีขนาด เริ่มต้นที่ ตัวไอ 15 ซม. 22 ซม. 26 ซม. และ 30 ซม ตามลำดับ แล้วความยาวที่ผลิตตามท้องตลาดทั่วไป เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่อง การขนส่ง ความยาวเสาเข็มรูปตัวไอ ท่อนเดียว ไม่เกิน 15 เมตรเสาเข็มรูปตัวไอ เป็นเสาเข็มชนิดตอก ที่นิยมนำมาใช้ในการงานก่อสร้างรากฐานมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากเสาเข็มรูปตัวไอ เป็นเสาเข็มที่มีพื้นที่รอบรูปมากกว่าเสาเข็มแบบอื่น จึงสามารถรองรับน้ำหนักได้สูง โดยเฉพาะในงานก่อสร้างบนพื้นที่ที่ชั้นดินข้างล่างเป็นชั้นดินเหนียวหรือชั้นดินตะกอน การที่เสาเข็มมีหน้าตัดเป็นรูปตัวไอนั้น ส่วนหนึ่งเพราะ รูปทรงที่มีเส้นรอบรูปมากกว่า สี่เหลียม สามารถต้นทานน้ำหนัก ในส่วนของแรงเสียดทานได้มากกว่า เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ที่มีหน้าตัดสี่เหลี่ยม และประหยัดในการใช้วัสดุ คอนกรีตได้ดีกว่าเสาเข็มหน้าตัดสี่เหลี่ยมตัน
การผลิตเสาเข็มเสาเข็มรูปตัวไอ
เสาเข็มรูปตัวไอ มีการผลิตออกมาหลายขนาด และหลายความยาว ซึ่งการกำหนดขนาด และความยาวก็เพื่อการใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการ แต่ขั้นตอนในการผลิตเสาเข็มจะมีลักษณะที่เหมือนกันดังนี้
1.จัดเตรียมพิมพ์สำหรับทำเสาเข็มรูปตัวไอ แบบพิมพ์ต้องสะอาด และไม่มีสิ่งแปลกปลอม
2.ทำการขึงลวดเหล็กแรงดึงสูง ที่บนแบบพิมพ์รูปตัวไอ จำนวนและขนาด ต้องถูกต้องตามวิศวกร ผู้ออกแบบกำหนด
3.ทำการเทคอนกรีต ชนิดแห้งเร็ว ลงในแบบพิมพ์ให้พอดีตามขนาดที่กำหนด คอนกรีตที่ใช้หล่อ เสาเข็มตัวไอนี้ ต้องเป็นคอนกรีตกำลังสูง ซึ่งสามารถรับแรงอัดได้มากกว่า 350 KSC.หลังจากนั้นใช้ เครื่องสั่นเพื่อจี้ให้คอนกรีตแน่น
4.รอให้คอนกรีตแห้งและ ได้กำลังตามที่วิศวกรออกแบบไว้ แล้วจึงทำการตัดลวดเหล็กที่ขึงไว้ออก ลวดเหล็กที่ตึงตัวอยู่เมื่อตัดแล้วจะมีการหดตัวกลับ การหดตัวของลวดนี้จะทำให้เกิดแรงอัด ภายในเนื้อคอนกรีตของเสาเข็ม ทำให้เสาเข็มมีความแข็งแรงสูง แม้จะมีความยาวมากก็สามารถคงรูปอยู่ได้โดยที่ไม่หักในขณะที่ทำการเคลื่อนย้ายและทำการตอก
งานที่เหมาะกับเสาเข็มรูปตัวไอ
การเลือกใช้เสาเข็มคอนกรีตรูปตัวไอนี้ ต้องเป็นวิศวกรผู้ออกเป็นผู้เลือก ให้พิจารณาทั้ง ขนาดหน้าตัดที่เหมาะสม ความยาวเสาเข็มตัวไอที่เหมาะสม และกระบวนการในการตอกเสาเข็มตัวไปด้วย เช่นการตอกเสาเข็มตัวไอโดยใช้ลูกตุ้มขนาดเท่าไหร่ ระยะยกของลูกตุ้มสูงเท่าไหร่เป็นต้น ซึ่งเงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นหน้าที่ ของวิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด งานที่เหมาะสมในภาพกว้างๆมีดังนี้
1.การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โรงจอดรถ งานเสริมความแข็งแรงของถนน งานสระว่ายน้ำ การก่อสร้างบ่อน้ำ หรือการต่อเติมอาคารที่แยกออกมาจากโครงสร้างหลัก เนื่องจากเสาเข็ม มีหลายขนาดให้เลือกจึงเหมาะกับการงานก่อสร้างทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่
2.งานก่อสร้างรั้ว ผนังกั้นหรือเขื่อนกั้นน้ำ เนื่องจากลักษณะของเสาเข็มรูปตัวไอ จะมีร่องอยู่ตรงกลาง ซึ่งขนาดของร่องนี้มีความกว้างพอกับความกว้างของแผ่นสำเร็จ
ดังนั้นจึงสามารถนำมาตอกลงไป ในพื้นดินส่วนหนึ่งและเหลือพื้นที่เหนือพื้นดินอีกส่วนหนึ่ง สำหรับใส่แผ่นสำเร็จรูปทำเป็นรั้วแบบทึบ หรือผนังกั้นเพื่อแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนได้ โดยที่ไม่ต้องทำการตอกเสาเข็มสองต้นเพื่อทำเป็นแนวกั้นแผ่นพื้นสำเร็จ
ข้อดีของเสาเข็มรูปตัวไอ
สำหรับข้อดีของเสาเข็มรูปตัวไอ ก็มีดังนี้
1.เสาเข็มรูปตัวไอ รองรับน้ำหนักได้มาก เนื่องจากรูปแบบของเสาเข็มรูปตัวไอมีพื้นที่รอบมากกว่าเสาเข็มแบบอื่น จึงมีพื้นที่สัมผัสกับพื้นดินมากกว่า ทำให้มีแรงเสียดทานระหว่างพื้นดินกับเสาเข็มสูง ส่งผลให้สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี แม้จะเป็นดินเหนียวหรือดินตะกอนก็ตาม
2.มีให้เลือกหลายขนาด เสาเข็มรูปตัวไอมีให้เลือกหลายขนาด และหลายความยาว ทำให้ช่างหรือวิศวกรสามารถ นำมาใช้งานได้หลากหลาย ดังนั้นไม่ว่าจะทำการก่อสร้าง ที่ต้องรับน้ำหนักขนาดไหนก็มีเสาให้เลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม
3.เสาเข็มรูปตัวไอน้ำหนักเบา เสาเข็มรูปตัวไอ ที่ความยาวเท่ากับเสาเข็มตันแบบอื่น จะมีน้ำหนักเบากว่า เนื่องมากลักษณะของเสาเข็มที่มีเป็นรูปตัวไอ ทำให้ส่วนหัวและท้ายมีเว้า เป็นช่องว่างไม่มีเนื้อคอนกรีตและเหล็กอยู่ ส่งผลให้เสาเข็มมีน้ำหนักเบากว่า
4.เสาเข็มรูปตัวไอใช้งานง่าย การใช้งานเสาเข็มรูปตัวไอทำได้ด้วยการตอกหรือกดด้วยแรงคนหรือแรงเครื่องจักรโดยตรง เพื่อให้เสาเข็มจมลงไปในดิน ไม่ต้องทำการขุดหรือเจาะเพื่อนำดินออกก่อนก็สามารถทำการตอกเสาเข็มลงไปได้เลย และเสาเข็มสามารถทนแรงอัดในการตอกได้โดยที่ไม่เกิดการแตกหัก
5.เสาเข็มรูปตัวไอ มีราคาถูก เมื่อเทียบราคาของเสาเข็มแบบตอกชนิดอื่นกับเสาเข็มรูปตัวไอ ที่มีขนาด ความยาวและความสามารถในการรับน้ำหนักที่เท่ากัน เสาเข็มรูปตัวไอจะมีราคาที่ถูกกว่า จึงช่วยประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี
ข้อระวังในการใช้เสาเข็มรูปตัวไอ
ถึงแม้ว่าเสาเข็มรูปตัวไอจะสามารถรองรับน้ำหนักได้สูง เนื่องจากมีพื้นที่หน้าตัดมาก แต่เสาเข็มชนิดนี้ก็มีข้อควรระวัง ในการใช้งานเช่นกัน ซึ่งข้อควรระวังนั้นก็มีดังนี้
1.แรงสั่นสะเทือนสูง ในการตอกเข็มรูปตัวไอ การตอกเสาเข็มรูปตัวไอ จะเกิดแรงสั่นสะเทือน ในขณะที่ทำการตอกสูง เนื่องจากพื้นที่หน้าตัดของเสามีมาก ดังนั้นเมื่อเสาเข็มเข้าไปแทนที่เนื้อดิน โดยเฉพาะเสาเข็มที่มีความยาวสูง ที่ต้องใช้เครื่องจักรในการตอก ทำให้ตึกหรืออาคารที่อยู่พื้นที่ใกล้เคียง อาจะเกิดความเสียหายจากแรงสั่นสะเทือนได้ ซึ่งหากต้องทำการตอกเสาเข็มรูปตัวไอ โดยเครื่องจักรจะทำได้เมื่อพื้นที่โดยรอบจะต้องมีสิ่งปลูกสร้างห่างออกไปอย่างน้อย 30 เมตร แต่หากสิ่งปลูกสร้างมีระยะใกล้น้อยกว่า 30 เมตรจะต้องทำการเจาะ เอาดินออกบางส่วนหรือทั้งหมดก่อน แล้วจึงค่อยทำการเสียบเสาเข็มลงไปหากต้องการใช้เสาเข็มรูปตัวไอแบบตอก
2.ต้องเคลื่อนย้ายเสาเข็มรูปตัวไออย่างระวัง เนื่องจากเสาเข็มส่วนที่เป็นหัวและท้ายของรูปตัวไอ จะมีขนาดที่เล็ก จึงอาจทำให้เกิดการหักหรือแตกร้าวได้ง่าย ดังนั้น ในการเคลื่อนย้ายจะต้องทำโดยอาศัยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้เสาเกิดการชำรุดแตกหัก นั่นเอง จะเห็นว่าเสาเข็มรูปตัวไอ เป็นเสาเข็มที่เหมาะสมกับงานก่อสร้างแทบทุกประเภท และงานที่ต้องรองรับน้ำหนักสูง แต่การเลือกขนาดและนำไปใช้งานควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ผลิตหรือวิศวกรผู้ดูแลทุกครั้ง เพื่อที่จะได้เสาเข็มรูปตัวไอที่เหมาะสมกับงานของท่านอย่างแท้จริง
การคำนวณการรับน้ำหนักเสาเข็มตัวไอ
การคำนวณ การรับน้ำหนัก ของเสาเข็มรูปตัวไอ จะใช้แรงเสียดทานด้านข้าง ของผิวเสาเข็มตัวไอ เป็นแรงเสียดทานต้านทานน้ำหนักของ โครงสร้างข้างบน ถ้าจะให้คำนวณ ให้ถูกต้องตรงความจริงที่สุดนั้น จะต้องทำการทดสอบ คุณสมบัติของดิน เพื่อที่จะหาค่าคงที่หรือคุณสมบัติต่างๆ ของดินบริเวณที่จะก่อสร้าง ว่ามีค่าแรงเสียดทาน หรือกำลังของดินเท่าไหร่ หน่อยเป็น กก/ตรม. แล้วนำมาคูณกับพื้นที่ผิวด้านข้างของเสาเข็ม ก็จะได้กำลังที่เสาเข็มจะแบกรับได้ บวกกับกำลังแบกทาน ของปลายเสาเข็มรูปตัวไอที่หยั่งอยู่ในชั้นดินแข็ง นำกำลังรับน้ำหนัก ของเสาเข็มรูปตัวไป 2 ส่วนมารวมกัน ก็จะได้กำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มรูปตัวไป ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยๆ จะมานำเสนอไว้ในโอกาศต่อไป ซึ่งการรับน้ำหนัก ของเสาเข็มรูปตัวไอ ดังกล่าวนั้นจำเป็นต้องปรึกษา วิศวกรผู้ออกแบบ
การรับน้ำหนักเสาเข็มรูปตัวไอสั้นๆ
แต่ในกรณี ที่ไม่มีผลการทดสอบดินในพื้นที่ก่อสร้าง ให้ใช้ค่าคงที่ตามพระราชบัญญัติ กรุงเทพมหานคร แนะนำให้ให้ใช้ค่าแรงเสียดทาน 600 กก/ตรม. ในช่วงความลึกไม่เกิน 6 เมตร
ก็สามารถคิดคำนวณง่ายๆคือ ใช้ค่า 600 กก/ตรม คูณกับพื้นที่ผิวของเสาเข็มตัวไอ ก็จะได้การรับน้ำหนักของเสาเข็มได้เคร่าๆ ถ้ารู้วิธีคิดง่ายแบบนี้ ใครๆก็สามารถคิด การรับน้ำหนักเสาเข็มตัวไอ
ได้ก่อนนำไปใช้งาน ในเบื้องต้นเท่านั้น ขอย้ำว่าในเบื้องต้นเท่านั้น ทังหมดทั้งมวลจำเป็นต้องปรึกษาวิศวกรเพื่อความปลอดภัย
เลือกเสาเข็มรูปตัวไอเกรดคุณภาพ เลือกเสาเข็มรูปตัวไอที่ผลิตจาก TRICH โรงงานผลิตวัสดุก่อสร้างครบวงจร ทั้งอิฐมวลเบา อิฐมอญ อิฐแดง อิฐบล็อก กระเบื้องหลังคา กระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องซีแพคโมเนีย คอนกรีตผสมเสร็จ ตอกเสาเข็ม เสาเข็มไมโครไพล์ เสาเข็มเจาะ เสาเข็มหกเหลี่ยม ท่อระบายน้ำ ท่อปูน ฯลฯ วัสดุก่อสร้างทุกประเภทของเรา ผลิตจากวัสดุคุณภาพสูง มาตรฐานระดับสากล ผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและพิถีพิถัน เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพแข็งแรง ทนทาน และใช้งานได้ยาวนาน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร : 02-988-5559, 081-549-5666