เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง มาตรฐาน มอก.396-2549
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มเจาะ เสาเข็มไมโครไพล์ เสาเข็มหกเหลี่ยม เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่เราภูมิใจนำเสนอมาให้ลูกค้า ได้ใช้เสาเข็มที่มีคุณภาพ และราคาประหยัด โดนใจ เจ้าของโครงการ และผู้รับเหมา เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มเจาะ เสาเข็มไมโครไพล์ เสาเข็มหกเหลี่ยม เราผลิตจากคอนกรีตกำลังสูง (high strength concrete) ที่ได้มาตรฐานจากแบรนด์ตราช้าง (SCG) มีการตรวจสอบคุณภาพทุก ๆ ระยะการผลิต
โรงงาน ผลิตเสาเข็มอัดแรงรูปตัวไอ เริ่มต้นที่ขนาดหน้าไอ 15 ซม. จนถึงไอ 30 ซม ความยาวผลิตได้ไม่เกิน 12 เมตรต่อท่อน มีบริการพร้อมปั้นจั่นตอกเสาเข็ม รวมถึงเสาเข็มเจาะ เสาเข็มไมโครไพล์ เสาเข็มหกเหลี่ยมทุกขนาดให้บริการลูกค้าในกรุงเทพ และปริมลฑล โดยมีวิศวกรควบคุมงานทุกขั้นตอนการทำงาน ทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มเจาะ เสาเข็มไมโครไพล์ เสาเข็มหกเหลี่ยม และบริการที่ดีตามมาตรฐานวิศวกรรม
มาตรฐานการผลิตเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
- ใช้ปูนซีเมนต์ และคอนกรีต คุณภาพสูง ตราช้าง ( SCG)
- มีแรงงาน และเครื่องจักรที่ทันสมัยทำให้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มเจาะ เสาเข็มไมโครไพล์ เสาเข็มหกเหลี่ยม ออกมามีคุณภาพตามมาตรฐาน
- มีรถบรรทุกขนาดใหญ่ และขนาดเล็กที่ เพียงพอต่อการจัดส่งเสาเข็มคอนกรีตทุกขนาด
- มีทีมงานมืออาชีพในการควบคุมงานในการให้บริการงานตอกเสาเข็ม
- เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงได้รับมาตรฐาน มอก.396-2549
- มีวิศวกรควบคุมงาน และออกหนังสือขออนุมัติใช้งานวัสดุให้โครงการ เพื่อรับรองมาตรฐานของสินค้าของโรงงาน
- มีฝ่ายเทคนิคให้คำแนะนำ เรื่องการรับน้ำหนักของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงตามที่ลูกค้าต้องการ
โรงงานผลิตเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
เสาเข็มรูปตัวไอ
เสาเข็มรูปตัวไอ มีขนาดตั้งแต่เสาเข็มไอ15 จนไปถึงขนาดเสาเข็มไอ30 ซม. ความยาวผลิตได้สูงสุด 12 เมตร หน้าตัดเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง รูปตัวไอ สามารถรับน้ำหนักได้ตามาตรฐาน มอก. 396-2549 หรือจะเป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่ มีการเสริมเสปกพิเศษเพื่อให้รับแรงด้นข้างได้มากกว่าปกติ เพื่อใช้ในงานกำแพงกันดิน สามารถผลิตได้ตาม ความต้องการของลูกค้า
เสาเข็มหกเหลี่ยม
เสาเข็มหกเเหลี่ยม อัดแรงกลวง เป็นเสาเข็มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 ซม มีรูปทรงตรงกลางเป็นรูกลวง มีขนาดความยาวสูงสุด 6 เมตร ขนาดสั้นสุดของเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง 1 เมตร เสาเข็มประเภทนี้ จะมี 2 แบบ ทั้งเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบอัดแรง และเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบธรรมดา เหมาะกับงานที่มี ความต้องการรับน้ำหนักน้อยๆ
เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน เป็น เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ผลิตจากคอนกรีตกำลังสูง (high strength concrete) อัดแรงเสริมด้วยลวดอัดแรง PC wire มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ ขนาดของเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน เริ่มต้นที่หน้าตัด 18 22 26 30 ตามลำดับ เหมาะสำหรับงานขนาดใหญ่ ไปจนถึงงานก่อสร้างขนาดกลาง เช่น งานรากฐานงานสะพาน เป็นต้น
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มตัวไอ
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มตัวไอมีหลายขนาด เริ่มที่เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงรูปตัวไป 15 ซม. 18 ซม. 22 ซม. 26 ซม. สามารถเสริมเหล็กพิเศษ เพื่อรับน้ำหนักตามที่ต้องการ และสามารถผลิตตามความยาวที่ต้องการได้ตามสั่ง
เสาเข็มคอนกรีต เสาเข็มหกเหลี่ยม
เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงของโรงงานเรามีหน้าตัดเดียว คือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 ซม มีรูกลวง มีความยาวสูงสุดที่ 6 เมตร สั้นสุด 1 เมตร สามารถผลิตตามความยาวตามที่ลูกค้าต้องการ หล่อด้วยคอนกรีตกำลังสูง และมีแบบสเปคแบบคอนกรีตอัดแรง และแบบธรรมดา
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มตัวไอ
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มตัวไอ ผลิตได้ทุกความยาวได้สูงสุด 11 เมตร และรับผลิตเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงรูปตัวไอ หรือเสริมเหล็ก เพื่อรับแรงพิเศษตามสั่ง
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มหกเหลี่ยม
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มหกเหลี่ยม สามารถผลิตได้ทั้งแบบคอนกรีตอัดแรง และแบบธรรมดา จัดส่งได้ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่พนักงานขาย
เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง สามารถจัดส่งได้ในกรุงเทพมหานคร และปริมลฑล และจังหวัดใกล้เคียง เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง มีเพียงพอสามารถรองรับความต้องการใช้งานของลูกค้าอย่างแน่นอน สอบถามเรื่องสเปค และรายละเอียดต่าง ๆ ได้จากพนักงานขาย
มาตรฐาน มอก. เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง
เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมี มอก.ไหม เป็นคำถามที่พบบ่อยมาก ๆ
เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมาตรฐานอุตสาหกรรมไม่ได้รองรับเสาเข็มประเภทนี้เพราะเป็นเข็มที่เล็กมาก แต่เสาเข็มประเภทนี้เนี่ยก็สามารถใช้ในงานสเปค หรือในงานราชการที่กำหนดสเปค หรือมาตรฐาน ตามหน่วยงานนั้น ๆ ได้ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องมีมาตรฐาน หรือเอกสารรับรองการรับน้ำหนักของเสาเข็มหกเหลี่ยมตามมาตรฐานผู้ผลิต เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมีรูปแบบการผลิต 2 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1 เป็นเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบธรรมดาซึ่งไม่ได้มีการดึงลวดอัดแรงเข้าไปในเนื้อคอนกรีต
รูปแบบที่ 2 เป็นการผลิตแบบอัดแรงเข้าไปในเนื้อของคอนกรีต หรือเราเรียกว่าคอนกรีตอัดแรง ทั้งสองลักษณะนี้มีความเหมือน และแตกต่างกันอย่างไร เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบธรรมดาแตกต่างกับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบอัดแรงอย่างไร จากการที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงธรรมดากับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบอัดแรง
มีกระบวนการในการผลิตที่ไม่เหมือนกันเสาเข็มหกเหลี่ยมแบบธรรมดานั้น ก็จะมีการหล่อเสาเข็ม แต่ไม่มีการอัดแรงเข้าไปเนื้อของคอนกรีต ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบอัดแรงจะมีการดึงลวด หรืออัดแรงเข้าไปในเนื้อคอนกรีต ถามว่ามีความแตกต่างในเรื่องของการรับน้ำหนักกันอย่างไร มีความแตกต่างกันในเรื่องของลักษณะการรับแรงทางด้านข้าง
พูดง่าย ๆ ให้เห็นภาพชัดเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบอัดแรงเนี่ยจะมีความทนทานต่อการรับแรงด้านข้างได้ดีกว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงธรรมดา
ยกตัวอย่างเช่น เวลาเรายก หรือเคลื่อนย้ายเสาเข็มโดยมีการหิ้วเสาเข็มขึ้นไปเสาเข็มหกเหลี่ยมอัดแรงจะไม่มีความเสี่ยงต่อการแตกร้าว หรือแตกร้าวได้น้อย เมื่อเทียบกับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบตัวธรรมดาเนี่ยจะมีโอกาสในการแตกร้าวสูง เพราะรับแรงด้านข้างไม่ได้แต่เมื่อ เสาเข็มพวกนี้ตอกลงไปในดินอยู่ข้างล่างแล้วเนี่ยการรับน้ำหนักในแนวดิ่งเนี่ยเท่ากัน ดังนั้นเราจึงเห็นถึงความแตกต่างระหว่างเสาเข็มหกเหลี่ยมอัดแรงกับเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงแบบธรรมดา แล้วจะมีความแตกต่างในเรื่องของการรับแรงในด้านข้างเท่านั้นเอง ซึ่งเสาเข็มทั้ง 2 ตัวนี้มีการผลิตที่แตกต่างกันมีมีความยาก ง่าย ที่แตกต่างกันจึงทำให้เสาเข็มหกเหลี่ยมอัดแรง มีราคาที่สูงกว่าเสาเข็มหกเหลี่ยมธรรมดาทั่ว ๆ ไป
การรับน้ำหนักเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง
เสาเข็มหกเหลี่ยมเป็นเข็มขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 cm. ความยาวสูงสุด 6 เมตร มีรูปทรงเป็นหกเหลี่ยม ตรงกลางจะมีรูกลวง โดยปกติการรับน้ำหนักของเสาเข็มพฤติกรรมในการรับน้ำหนักของเสาเข็ม โดยทั่วไปเราจะออกแบบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม โดยให้ส่วนที่ 1 เราจะใช้ Fiction หรือแรงเสียดทานของผิวรอบข้างของเสาเข็ม และ 2 เราจะใช้ Bearing capacity หรือปลายของเสาเข็มที่วางอยู่บนชั้นดินแข็ง ซึ่งแน่นอนเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงมีความยาวสูงสุดแค่ 6 เมตร ซึ่งเป็นไปไม่ได้แน่นอนที่เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงเนี่ยจะวางอยู่บนชั้นดินแข็ง เพราะระยะ 6 เมตร เป็นชั้นดินอ่อน เพราะฉะนั้นกำลังต้านทานการรับน้ำหนักของโครงสร้างจะมีแค่ Fiction หรือแรงเสียดทานเพียงอย่างเดียววิธีการคิดคำนวณก็ใช้พื้นที่ของผิวสัมผัสของเสาเข็มหกเหลี่ยม x กลับค่า Fiction หรือคุณสมบัติของดิน ในกรณีที่เราไม่ได้ทดสอบคุณสมบัติของดินที่เราก่อสร้าง เราจะใช้ค่าขั้นต่ำตามคำแนะนำของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้ใช้กำลังการน้ำหนักของดิน 600 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
การวิบัติเสาเข็มหกเหลี่ยมหลวง
การวิบัติของเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงนั้น จะมีการวิบัติง่าย 2 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1 เป็นการวิบัติโดยพังที่เสาเข็มเอง หรือพูดง่าย ๆ ว่าเมื่อเสาเข็มรับน้ำหนักแล้วเสาเข็มเกิดการหักการโก่งงอ พังที่เสาเข็มนั่นเอง
รูปแบบที่ 2 เสาเข็มไม่ได้พังแต่วิบัติโดยดินพัง หรือเกิดการทรุดตัว ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้วเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงยาว 6 เมตร อยู่ในชั้นดินอ่อนเนี่ยอย่างไรก็ตามเนี่ยเสาเข็ม จะไม่พังแต่จะพังโดยการทรุดตัว หรือดินพังนั่นเอง หรือมีการทรุดตัวที่เยอะมาก ๆ เพราะฉะนั้นตัวที่วิกฤตที่สุดก็คือคุณสมบัติของดินนั่นเอง โดยปกติทั่วไปส่วยใหญ่จะพบการวิบ้ติ ของเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง เป็นลักษณะที่ มีการทรุดตัวมากจนเกินไป ทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักอาคารได้ไหว จึงทำให้โครงสร้างข้างบนมีปัญหา หรือบางครั้งต้องปรึกษาวิศวกรผู้ออกแบบ หากเลี่ยงเลื่ยงการทรุดไม่ได้ ก็ควบคุมให้การทรุดตัวอยู่ในของเขต เช่น ให้ทรุดตัวพร้อมกันเท่ากันทั้งอาคาร ไม่ควรไปฝากโครงสร้างไว้กับโครงสร้างที่ไม่ทรุดตัว หรือทรุดตัวน้อย จะทำให้มีการยึดรั้งกันของโครงสร้าง ทำให้โครงสร้าง ฉีกขาดได้
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงรูปตัวไอ
การรับน้ำหนักเสาเข็มรูปตัวไอ
เสาเข็มตัวอัดแรงรูปตัวไอ การรับน้ำหนัก ก็จะมี 2 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 คือใช้แรงเสียดทานที่ผิวเสาเข็มกับดิน
ส่วนที่ 2 ใช้แรงแบกทานที่ปลายของเสาเข็ม
ทำ2 ส่วนนี้มารวมกัน ก็จะได้ความต้านทาน ในการรับน้ำหนักของเสาเข็มตัวไอนี้ แน่นอนถ้าเป็นเสาเข็มตัวไอยาวก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่บางครั้งเนื่องจากสภาพแวดล้อม ไม่เอื้ออำนวย และโครงสร้างอาคารเป็นอาคารเล็ก ๆ อาจครั้งก็ไม่อาจหลีกเลี่ยง การเลือกใช้เสาเข็มตัวไอแบบสั้น ๆ นั้นหลักการรับน้ำหนักนั้น จะใช้แรงเสียดทานด้านข้างของผิวเสาเข็มตัวไอ เป็นแรงเสียดทานต้านทานน้ำหนักของโครงสร้างข้างบน ถ้าจะให้คำนวณให้ถูกต้องตรงความจริงที่สุดนั้น จะต้องทำการทดสอบคุณสมบัติของดิน เพื่อที่จะหาค่าคงที่ หรือคุณสมบัติต่าง ๆ ของดินบริเวณที่จะก่อสร้างว่ามีค่าแรงเสียดทาน หรือกำลังของดินเท่าไหร่ หน่อยเป็น กก/ตรม. แล้วนำมาคูณกับพื้นที่ผิวด้านข้างของเสาเข็ม ก็จะได้กำลังที่เสาเข็มจะแบกรับได้ แต่ยังไม่รวมอัตราส่วนความปลอดภัยที่เกิดขึ้นในการทำงานต่าง ๆ และยังมีแรงแบกทานปลายเสาเข็มด้านล่างแต่ผู้เขียน ไม่แนะนำให้นำมาคิดเพราะมันน้อยมาก แต่ในกรณีที่ไม่มีผลการทดสอบดินในพื้นที่ก่อสร้าง ให้ใช้ค่าคงที่ตามพระราชบัญญัติกรุงเทพมหานคร แนะนำให้ให้ใช้ค่าแรงเสียดทาน 600 กก./ตรม. ในช่วงความลึกไม่เกิน 6 เมตร ก็สามารถคิดคำนวณง่าย ๆ คือ ใช้ค่า 600 กก./ตรม. คูณกับพื้นที่ผิวของเสาเข็มตัวไอ ก็จะได้การรับน้ำหนักของเสาเข็มได้เคร่า ๆ ถ้ารู้วิธีคิดง่ายแบบนี้ ใคร ๆ ก็สามารถคิด การรับน้ำหนักเสาเข็มตัวไปได้ก่อนนำไปใช้งานได้ แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้นเพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาวิศกรผู้ออกแบบเพื่อเลือกหน้าตัด ความยาว ชนิดของเสาเข็มชนิดนั้นจะเป็นการดีที่สุด