สำรวจราคาและความเหมาะสมกระเบื้องหลังคาก่อนตัดสินใจซื้อ ในการสร้างบ้านนั้น “หลังคา” คือ ส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของบ้าน เพราะหลังคาเปรียบเสมือนมงกุฎที่คอยปกป้องบ้านจากแดด ฝน หรือ ลมพายุ ปกป้องคน และทรัพย์สินภายในบ้าน ดังนั้น การเลือกกระเบื้องหลังคา จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญและต้องใช้ความรอบคอบในการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะกระเบื้องหลังคา ที่เลือกใช้ นอกจากจะต้องแข็งแรง ทนทาน และมีอายุการใช้งานยาวนานแล้ว ยังต้องมีความสวยงาม และเข้ากับสไตล์ของบ้านด้วย ประเภทของกระเบื้องหลังคาและราคาขาย สำหรับกระเบื้องหลังคานั้น ในปัจจุบันมีให้เลือกสองกลุ่ม คือ 1.กระเบื้องหลังคาแผ่นเรียบ เช่น กระเบื้องว่าว 2. กระเบื้องหลังคาแบบลอน เช่น กระเบื้องลอนคู่ ลอนสอง กระเบื้องลอนสาม นอกจากนี้กระเบื้องหลังคาทั้งสองแบบ ยังสามารถแบ่งประเภทออกไปตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต เช่น กระเบื้องคอนกรีต กระเบื้องเซรามิก และกระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ โดยกระเบื้องหลังคาที่ได้รับความนิยมในการใช้งานในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น กระเบื้องหลังคาแผ่นเรียบ โดยลักษณะของกระเบื้องแผ่นเรียบจะมีรูปทรงเป็นแผ่นเรียบๆ อาจมีการตกแต่งผิวหน้าให้มีลวดลาย หรือสีสันต่าง ๆ ข้อดีของกระเบื้องหลังคาแผ่นเรียบ คือ การติดตั้งง่ายให้ความรู้สึกเรียบง่าย และมีความทันสมัย สำหรับกระเบื้องหลังคาแผ่นเรียบมีหลากหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยวัสดุที่นิยมใช้ทำกระเบื้องหลังคาแผ่นเรียบ ได้กลายมาเป็นชื่อเรียกกระเบื้องแต่ละแบบ
Category Archives: knowledge
ข้อดีของคอนกรีตผสมเสร็จที่อุตสาหกรรมก่อสร้างขาดไม่ได้ ในงานก่อสร้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อาคารสูงหรือที่อยู่อาศัย วัสดุก่อสร้างที่ไม่สามารถขาดได้เลย คือ คอนกรีต และคอนกรีตที่นิยมใช้ในงานในปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ คอนกรีตผสมเอง และ คอนกรีตผสมเสร็จ ซึ่งทั้ง 2 สองประเภทนี้ แม้ว่าจะเป็นคอนกรีตเหมือนกันแต่มีคุณสมบัติและมีความเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะคุณสมบัติของคอนกรีตผสมเสร็จ ซึ่งมีข้อดีและคุณภาพที่สูงกว่า จึงทำให้ คอนกรีตผสมเสร็จ ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเลื่อยๆ วิวัฒนาการของคอนกรีตผสมเสร็จ สำหรับคอนกรีตผสมเสร็จ นั้นเป็นนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่พัฒนาขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของงานก่อสร้าง ประเภทต่าง ๆ ที่ต้องการความรวดเร็ว และคุณภาพสูง และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ แม้ว่าคอนกรีตจะถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างมานานแล้ว แต่ระบบการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการจากการพัฒนาเทคโนโลยีและความเข้าใจในคุณสมบัติคอนกรีตที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยจุดเริ่มต้นของคอนกรีตผสมเสร็จ เกิดขึ้นและมีวิวัฒนาการมาจากการผสมคอนกรีตที่ทำกันเอง หน้าไซต์งานก่อสร้าง โดยใช้แรงงานคนในการผสมส่วนผสมต่าง ๆ เช่น ปูนซีเมนต์ หิน ทราย และน้ำ แต่กระบวนการนี้ใช้เวลานาน และคุณภาพของคอนกรีตที่ได้ก็ไม่สม่ำเสมอ ทำให้มีการคิดค้นนวัตกรรม และเครื่องจักรผสมคอนกรีต ในรูปแบบโรงงานผสมคอนกรีตผสมเสร็จ การตั้งโรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ นั้นมีการเติบโตอย่างรวดเร็วตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทำให้ความต้องการคอนกรีตที่มีคุณภาพสูงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
เทียบความต่างคอนกรีตผสมเสร็จและคอนกรีตผสมเอง แบบไหนเหมาะกับงานก่อสร้างของเรา การก่อสร้างบ้าน อาคาร หรือตึกสูง เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรอบคอบในการเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะคอนกรีต ซึ่งเป็นวัสดุหลักที่สำคัญ สำหรับคอนกรีตที่ใช้ในการก่อสร้างนั้นมีหลากหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้กันมาก คือ คอนกรีตผสมเสร็จ และ คอนกรีตผสมเอง โดยคอนกรีตทั้งสองชนิดนี้ต่างมีจุดเด่น และข้อจำกัดที่ต่างกันออกไป ดังนั้น การตัดสินใจว่าจะเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จ หรือ คอนกรีตผสมเอง จึงต้องพิจารณาว่าคอนกรีตชนิดใดจะเหมาะสมกับงานก่อสร้างที่กำลังจะดำเนินการ คอนกรีตผสมเสร็จและคอนกรีตผสมเอง คืออะไร คอนกรีตผสมเสร็จ คือ วัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่งที่ผ่านการผสมส่วนผสมต่างๆ จากโรงงาน โดยมีส่วนผสมหลัก ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ และสารเคมี ซึ่งส่วนผสมทั้งหมดจะมีการควบคุมสัดส่วนและคุณภาพอย่างแม่นยำ เมื่อต้องใช้งาน ก็สามารถสั่งซื้อและขนส่งไปยังพื้นที่ก่อสร้างได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา ส่วนคอนกรีตผสมเอง คือ คอนกรีตที่มีผสมส่วนผสม ที่ช่างและวิศวกรคิดคำนวณส่วนผสมขึ้นตามความเหมาะสมของงานก่อสร้างนั้นๆ และทำการผสมส่วนผสมต่าง ๆ กันที่หน้าไซต์งานก่อสร้าง โดยมีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ปูนซีเมนต์ หิน ทราย และน้ำ
ข้อพึงระวังในการเลือกใช้บริษัทรับตอกเสาเข็ม การตอกเสาเข็ม ถือเป็นเสมือนการสร้างรากฐานที่สำคัญของอาคาร ตึกสูง รวมไปถึงการก่อสร้างบ้านเรือน และที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่าง ๆ เพราะเสาเข็มจะคอยทำหน้าที่รับน้ำหนัก กระจายแรง และยึดเหนี่ยวโครงสร้างให้มีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย ดังนั้น การตอกเสาเข็มจึงมีความสำคัญมาก ๆ สำหรับงานก่อสร้างอาคาร บ้านเรือนและตึกสูงในปัจจุบันการตอกเสาเข็ม ที่ว่ามีความสำคัญมากแล้ว แต่คุณรู้หรือไม่ว่าสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กับการตอกเสาเข็ม คือการเลือกใช้บริการบริษัทรับตอกเสาเข็ม ที่มีความเชี่ยวชาญ ได้มาตรฐานและมีผลงานเป็ฯที่ยอมรับ เพราะหากเราเลือกใช้บริการบริษัทรับตอกเสาเข็ม ผิด อาจส่งผลร้ายแรงต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน และอาจทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในอนาคต ดังนั้น การเลือกบริษัทรับตอกเสาเข็ม จึงมีความมากๆสำหรับผู้ที่กำลังจะก่อสร้างตึกสูงหรือบ้านเรือนในปัจจุบัน ความสำคัญของการตอกเสาเข็มกับโครงสร้างและสิ่งก่อสร้าง เพราะการตอกเสาเข็ม เปรียบเสมือนการสร้างรากฐานให้กับตึกสูง อาคาร และที่อยู่อาศัย เพราะเสาเข็มจะทำหน้าที่รับน้ำหนัก กระจายแรง และยึดเหนี่ยวโครงสร้างให้มั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย โดยเสาเข็มจึงมีความสำคัญต่อโครงสร้างอาคาร ดังนี้ ช่วยรับน้ำหนัก เราต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่าพื้นดินในแต่ละพื้นที่มีความอ่อนนุ่มต่างกัน ทำให้การยุบ หรือทรุดตัวของพื้นดินมีความแตกต่างกันออกไปด้วย โดยเฉพาะเมื่อถูกกดทับจากโครงสร้างและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ อาจทำให้พื้นดินมีการทรุดตัวลง ซึ่งการทรุดตัวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความอ่อนนุ่มของพื้นดิน และน้ำหนักที่กดทับ ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาการทรุดตัวของพื้นดินและโครงสร้างสิ่งก่อสร้างการตอกเสาเข็ม จึงมีความสำคัญมาก โดยเสาเข็มจะทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวอาคารและโครงสร้างทั้งหมด รวมไปถึงน้ำหนักของสิ่งของภายในตึกหรืออาคารบ้านเรือน
ปัจจัยที่ทำให้เทคโนโลยีมีผลต่อการเลือกใช้คอนกรีต การพัฒนาของเทคโนโลยีก่อสร้างที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาวัสดุก่อสร้างใหม่ ๆ เข้ามารองรับการใช้งานเทคโนโลยี ที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่สำคัญ ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน คือ “คอนกรีต” สำหรับ คอนกรีต นั้นมีการพัฒนาทั้งในด้านของสูตรและเทคนิคการผลิตใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติและประสิทธิภาพ ทำให้คอนกรีตมีความหลากหลายทั้งในด้านประสิทธิภาพและคุณสมบัติ และประเภทของการใช้งาน การพัฒนาเทคนิคและสูตรผสมของ คอนกรีต เพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการก่อสร้าง หรือเทคโนโลยีใหม่ในด้านอื่นๆ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานของคอนกรีตแต่ละประเภท ทำให้ในปัจจุบัน คอนกรีต ที่จำหน่ายอยู่ในตลาดมีให้เลือกหลากหลาย โดยคอนกรีตที่ว่างจำหน่ายในตลาดทั่วไป แบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ คอนกรีตธรรมดา โดยปกติแล้วคนทั่วไปจะเข้าใจว่าปูนซีเมนต์กับคอนกรีตนั้น คือ วัสดุตัวเดียวกัน แต่จริงๆแล้ว คอนกรีตต่างจากปูนซีเมนต์ เนื่องจาก คอนกรีตเกิดจากการผสมปูนซีเมนต์ร่วมกับวัสดุอื่น เช่น ทราย หิน และน้ำ ส่วนปูนซีเมนต์ คือ ผงปูนซีเมนต์ที่ไม่มีส่วนผสมอื่น โดยคอนกรีตจะนิยมใช้ในงานโครงสร้างทั่วไป เช่น การหล่อเสา คาน เทพื้น เทฐานราก เทท่อ หล่อแผ่นพื้นสำเร็จ โดยคอนกรีตที่เราพบเห็นได้บ่อยในไซต์งานก่อสร้าง
รู้จักกระเบื้องหลังคา กระเบื้องลอนคู่ก่อนเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน หลังคาเป็นองค์ประกอบสำคัญของบ้านและอาคาร ทั้งป้องกันจากสภาพอากาศร้อน กันฝนและกันแดด และยังเป็นส่วนที่ช่วยการประหยัดพลังงาน รวมทั้งป้องกันการเสื่อมสภาพของโครงสร้างที่เร็วเกินไป การเลือกกระเบื้องหลังคาให้เหมาะสมกับการใช้งานเป็นเรื่องสำคัญมาก ทำความรู้จักกระเบื้องหลังคาก่อนก่อสร้าง การเลือกกระเบื้องหลังคา ต้องพิจารณาหลากหลายด้านด้วยกัน ทั้งความทนทาน การติดตั้ง ราคา และความสวยงามของวัสดุที่เหมาะสมกับสไตล์ของบ้านหรืออาคาร รวมทั้งการพิจารณาโครงสร้างรองรับที่ต้องการความแข็งแรง ก่อนที่จะทำการก่อสร้าง จึงควรรู้จักกระเบื้องหลังคาให้ดีเสียก่อน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ กระเบื้องลอนคู่ (Double Wavy Roof Tile) เป็นกระเบื้องหลังคาที่มีลักษณะเป็นลอนโค้งคู่เรียงติดกัน ซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรงและการระบายน้ำได้ดี ทำให้เป็นที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างหลังคาบ้านและอาคารต่างๆ กระเบื้องลอนคู่ มักทำจากวัสดุหลายชนิด เช่น ซีเมนต์ใยหิน หรือวัสดุสังเคราะห์อื่นๆ โดยลักษณะและคุณสมบัติของกระเบื้องหลังคาลอนคู่ มีดังนี้ รูปทรงและลักษณะการออกแบบ มีลักษณะเป็นคลื่นลอนสองคู่ที่ต่อเนื่องกัน มีขนาดและความหนาที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน การติดตั้งง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากการออกแบบที่สามารถวางซ้อนทับกันได้ดี เหมาะกับการใช้ในโครงสร้างหลังคาที่หลากหลาย เช่น โครงหลังคาไม้หรือโครงหลังคาเหล็ก การใช้งานที่เหมาะสมของกระเบื้องลอนคู่ เหมาะสำหรับบ้าน อาคารพาณิชย์หรือโรงงาน ที่ต้องการความทนทาน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกบ่อยหรือมีสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เนื่องจากระบายน้ำได้ดีและทนทานต่อสภาพอากาศ ติดตั้งง่าย และประหยัดงบการก่อสร้าง กระเบื้องแผ่นเรียบ (Flat Tile) เป็นกระเบื้องหลังคาประเภทหนึ่งที่มีลักษณะแบนเรียบ
6 จุดเด่นตอบโจทย์ ทำไมต้องใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ของ Trich พฤติกรรมการเลือกใช้ปูนซีเมนต์ในงานก่อสร้างของผู้บริโภคและช่างฝีมือในปัจจุบันนี้ เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากขึ้นทุกวัน จากที่เคยเลือกใช้ปูนซีเมนต์แบบบรรจุถุงนำมาผสมร่วมกับทรายและหิน เพื่อนำไปใช้ในการงาน ก่อ ฉาบ หล่อ เท ซึ่งต้องใช้แรงงานในการผสมปูนซีเมนต์ ก็เปลี่ยนมาเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จ เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และยังสามารถลดต้นทุนแรงงานได้ด้วย เนื่องจากคอนกรีตผสมเสร็จ ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการผสมปูนซีเมนต์และวัสดุอื่น ๆ ก่อนนำไปใช้งานก่อสร้าง คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready-Mix Concrete) คืออะไร คอนกรีตผสมเสร็จ คือ คอนกรีตสำเร็จรูป ที่มีการผสมเสร็จจากโรงงานหรือสถานที่ผสมคอนกรีตโดยเฉพาะ ก่อนที่จะนำไปใช้งานในสถานที่ก่อสร้าง โดยส่วนประกอบหลักของคอนกรีตผสมเสร็จ ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นวัสดุหลักที่ทำหน้าที่เป็นสารยึดเกาะ น้ำ ช่วยทำให้ปูนซีเมนต์ทำปฏิกิริยากับสารเคมีและทำให้คอนกรีตแข็งตัว ทราย หินหรือกรวด และสารผสมเพิ่ม (Admixtures) ซึ่งเป็นสารที่เติมเข้าไปเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติ ของคอนกรีต เช่น เพิ่มความแข็งแรง ป้องกันการแตกร้าว หรือทำให้คอนกรีตแข็งตัวเร็วขึ้น ทำไมต้องเลือกคอนกรีตผสมเสร็จ จาก Trich แม้ว่า คอนกรีตผสมเสร็จ จะมีการใช้งานอย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง แต่ปัจจัย และข้อจำกัดและปัญหาหลาย ๆ
ความอเนกประสงค์ของเสาไมโครไพล์กับงานต่อเติมและป้องกันบ้านทรุด โอกาสที่ประเทศไทยจะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรง เสมือนกับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศนั้นมีน้อยมาก และหากเกิดแผ่นดินไหวขึ้นจริง แรงสั่นสะเทือนก็จะไม่รุนแรงถึงขั้นมีผลต่อโครงสร้างของอาคาร บ้าน เรือนจนถึงขั้นพังทลายได้ ดังนั้นในการก่อสร้างบ้าน จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการฝังเข็มเสาไมโครไพล์ ต้องบอกว่า บ้านเราจะมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นน้อยครั้ง แต่บ้านที่ไม่ได้ฝังเสาเข็ม ส่วนใหญ่จะประสบกับปัญหาพื้นบ้านทรุดตัว บางบ้านการทรุดตัวของชั้นดินรุนแรงถึงขั้นส่งผลต่อการ โครงสร้างบ้าน ซึ่งต่างจากบ้านที่มีการตอกเสาไมโครไพล์ แม้ว่าจะเกิดเหตุแผ่นดินไหว หรือชั้นดินทรุดตัว แต่พื้นบ้านกลับไม่ได้รับผลกระทบ หรือมีผลต่อผนังและโครงสร้างของบ้าน ขณะเดียวกัน บ้านที่ไม่ได้รับการตอกเสาเข็ม หรือฝังเสาไมโครไพล์ และยังมีการต่อเติมบ้าน ซึ่งเป็นเรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้าง และชั้นพื้นดินที่รองรับโครงสร้างบ้าน จนทำให้เกิดปัญหาการทรุดตัวของโครงสร้างตามมาในภายหลัง ปัญหาเหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วเจ้าของบ้านต้องทำการแก้ไข ซึ่งงานแก้ไขนั้นจะมีต้นทุนสูงกว่างานก่อสร้างใหม่ ดังนั้น ในขั้นตอนของการก่อสร้างบ้าน การฝังเสาไมโครไพล์ จึงมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงการบิดตัวของโครงสร้างและการทรุดตัวของพื้นดินในอนาคต ซึ่งอาจมีผลต่อตัวบ้านและโครงสร้างบ้านได้ เสาไมโครไพล์ คืออะไร เสาไมโครไพล์ (Micropile) คือ เสาเข็มขนาดเล็กที่ใช้ในงานวิศวกรรมโยธา และการก่อสร้างบ้าน อาคารขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความมั่นคงของโครงสร้าง โดยเสาไมโครไพล์มักถูกเลือกใช้ในงานก่อสร้างที่ไม่สามารถใช้เสาเข็มขนาดใหญ่ได้ เช่น งานก่อสร้างหรือไซด์งานก่อสร้างที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ หรือ การเสริมโครงสร้างเดิมมีการทรุดตัว เนื่องจากมีขนาดเล็กและง่ายต่อการเคลื่อนย้ายและการฝังเสาเข็มในพื้นที่จำกัด ทำให้เสาไมโครไพล์ มีความแตกต่างจากเสาเข็มประเภทอื่นๆ โดย เสาไมโครไพล์
7 สิ่งสำคัญที่ควรรู้ก่อนตอกเสาเข็ม ปัจจุบันการตอกเสาเข็ม ในงานก่อสร้างมีหลายระบบ ซึ่งแต่ละระบบนั้นจะถูกเลือกใช้ตามลักษณะ หรือประเภทของงานก่อสร้างและความแตกต่างตามหน้างาน และขนาดของไซต์งานก่อสร้าง ที่แตกต่างกันไป โดยระบบตอกเสาเข็มซึ่งได้รับความนิยมใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันที่อยู่ด้วยกัน ระบบคือ ระบบตอกเสาเข็มด้วยมือ โดยระบบการตอกเสาเข็มด้วยมือนั้น จะใช้คนในการตอก โดยใช้ค้อน หรือ เครื่องมือชนิดต่าง ๆ ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้มานาน และในปัจจุบันยังคงใช้กันในงานก่อสร้างบางประเภท โดยเฉพาะงานก่อสร้างขนาดเล็ก หรือการเข้าถึงที่ยาก เช่นงานต่อเติมบ้านในพื้นที่แคบ ๆ ระบบตอกเสาเข็มด้วยเครื่องยนต์ การตอกเสาเข็มระบบนี้ จะใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรที่มีพลังงานสูง เช่น เครื่องมือที่ใช้พลังงานไฟฟ้าหรือไฮดรอลิก เพื่อช่วยในการชักลอกเพื่อตอกเสาเข็ม ซึ่งช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบตอกเสาเข็มด้วยการใช้สร้อย การใช้สร้อยหรือช่วงเวลาของสร้อยที่มีน้ำหนักส่งเสริมโดยแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อช่วยในการตอกเสาเข็ม วิธีนี้มักใช้ในงานที่มีขนาดใหญ่และต้องการการเข้าถึงที่ยาก เช่น ในการก่อสร้างอาคารสูงระบบตอกเสาเข็มด้วยเครื่องชั่ง การใช้เครื่องชั่งหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการช่วยเชื่อมต่อส่วนที่ต้องการตอกเสาเข็ม โดยใช้แรงกระแทกหรือแรงกระชาก เพื่อช่วยในการตอกเสาเข็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบเสาเข็มแบบเจาะ ซึ่งเสาเข็ม เป็นระบบนี้ต้องมีการเทคอนกรีตที่หน้า ซึ่งตามมาตรฐานทางวิศวกรรมและการตอกเสาเข็มระบบเจาะ มีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบเจาะแบบแห้ง และ ระบบเจาะแบบเปียก โดยการตอกเสาเข็มระบบเจาะแบบแห้ง จะเหมาะสำหรับงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย เพราะมีราคาไม่สูงมาก ส่วนการตอกเสาเข็มระบบเจาะแบบเปียก จะนิยมใช้กับอาคารขนาดใหญ่
เทคนิคการเลือกเสาเข็มให้ตรงกับการใช้งาน การคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาและป้องกันการทรุดตัวของผิวดิน วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การตอกหรือฝังเสาเข็มก่อนขึ้นโครงสร้าง เพราะแรงดึงดูดของโลกทำให้วัตถุตั้งอยู่บนพื้นดินได้อย่างมั่นคง แต่หากวัตถุมีน้ำหนักมากๆ และตั้งอยู่บนผิวดินที่มีสภาพอ่อนตัว น้ำหนักของวัตถุก็กดลงพบผิวดินและทำผิวดินมีการทรุดตัวลง ยิ่งหากเราเปลี่ยนจากวัตถุที่ตั้งอยู่บนผิวดิน มาเป็นอาคาร บ้านเรือนที่เราก่อสร้างขึ้น น้ำหนักของอาคารก็จะมีผลให้ผิวดินทรุดตัวเช่นกัน ซึ่งการทรุดตัวของผิวดินจะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของโครงสร้างและตัวอาคารที่ก่อสร้างขึ้น ดังนั้น ในการก่อสร้างบ้านหรืออาคารขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากๆ เราจึงพบเห็นกันเป็นประจำว่าวิศวกรมักจะฝังเสาเข็มก่อนทุกครั้ง ทำความรู้จักเสาเข็ม คืออะไร เสาเข็ม (Pile Foundation) คือ ส่วนประกอบของโครงสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของสิ่งปลูกสร้าง เช่น รองรับน้ำหนักของตัวอาคาร บ้านเรือน ตึกสูง โดยเสาเข็ม จะถูกฝังไว้ด้านใต้สุดของสิ่งก่อสร้าง เสาเข็ม มีลักษณะเป็นท่อนฝังไว้ใต้ดิน และมีการเชื่อมต่อกับฐานรากของสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นโครงสร้างส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน เพื่อคอยแบกรับน้ำหนักจากเสา และถ่ายเทน้ำหนักไปสู่เสาเข็ม เพื่อถ่ายเทน้ำหนักและกระจายลงสู่ชั้นดินด้านล่าง โดยอาศัยแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับดิน และแรงต้านทานจากปลายเข็มของชั้นดินแข็ง ความสำคัญและจำเป็นของเสาเข็ม หลายคนมักเกิดคำถามว่า ทำไมในการก่อสร้างอาคาร หรือสร้างบ้าน ต้องมีการฝังเสาเข็ม เพราะการฝังเสาเข็ม จะทำให้เจ้าของบ้าน หรือเจ้าของอาคารต้องจ่ายเงิน หรือมีต้นทุนในการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น แถมยังทำให้ต้องเสียเวลาในการก่อสร้างมากขึ้น จึงทำให้หลายๆ คนเลี่ยงที่จะตอกหรือฝังเสาเข็ม
คนมีบ้านต้องรู้ข้อดีของอิฐมวลเบาสำหรับการสร้างบ้าน ถ้าพูดถึง นวัตกรรมการวัสดุก่อสร้างที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เชื่อว่าชื่อแรก ๆ ของวัสดุก่อสร้างที่จะผุดขึ้นในหัวของหลาย ๆ คน น่าจะมีชื่อของอิฐมวลเบา รวมอยู่ในนั้นด้วย เนื่องจาก อิฐมวลเบา ถือว่าเป็นวัสดุก่อสร้างหลักในการก่อผนังบ้าน สำหรับอิฐมวลเบา เป็นวัสดุก่อสร้างที่ถูกพัฒนาเข้ามาใช้ทดแทนอิฐมอญ อิฐแดง โดย อิฐมวลเบา นั้นนอกจากจะมีคุณสมบัติด้านความแข็งแรง และรองรับน้ำหนักได้ดีเช่นเดียวกับอิฐมอญ หรืออิฐแดง อิฐมวลเบา ยังคุณสมบัติพิเศษ คือ มีน้ำหนักเบา ทนทานต่อความร้อนเป็นเสมือนฉนวนกันไฟและกันความร้อน เก็บเสียงได้ดีจากปัจจัยที่กล่าวมา ทำให้ความนิยมใช้อิฐมวลเบาในการก่อสร้างบ้านในต่างจังหวัด และบ้านจัดสรรโดยเฉพาะกลุ่มบ้านราคาแพงจะเลือกใช้อิฐมวลเบา ในการก่อผนัง ทดแทนการใช้อิฐแดง หรืออิฐมอญมากขึ้น เพราะนอกจากอิฐมวลเบา จะมีความยืดหยุ่นในการใช้งานและมีความแข็งแรงแล้ว อิฐมวลเบา ยังมีคุณสมบัติพิเศษดีกว่าการใช้ ระบบผนังสำเร็จรูปและอิฐมอญ ในการก่อผนัง และสำหรับท่านกำลังเลือกซื้อบ้านที่ใช้ อิฐมวลเบา ก่อผนัง หรือกำลังพิจารณาว่าจะเลือกวัสดุก่อสร้างในการก่อผนัง หรือสร้างบ้าน วันนี้เราได้นำข้อมูลและคุณสมบัติของอิฐมวลเบา มาแชร์เพื่อเป็นข้อมูลให้คุณผู้อ่านได้ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้วัสดุก่อสร้างกัน ทำความรู้จักว่า อิฐมวลเบา คืออะไร ? อิฐมวลเบา (Lightweight Concrete Brick หรือ Autoclaved
การใช้งานท่อปูนในแบบต่างๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน การวางท่อระบายน้ำ เป็นอีกหนึ่งงานก่อสร้างที่สำคัญมากและละเลยไม่ได้อย่างเด็ดขาด ในการเลือกท่อระบายน้ำก็ต้องเลือกท่อที่ได้มาตรฐาน สำหรับท่อระบายน้ำนั้นก็จะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ อาทิ ท่อซีเมนต์ ท่อใยหิน และท่อคอนกรีตหรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า ท่อปูน สำหรับท่อปูนนั้นเรียกได้ว่าเป็นท่อระบายน้ำที่ได้รับความนิยมสูงมากที่สุด เพราะในปัจจุบันได้มีนวัตกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับท่อปูนมากมาย เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายทั้งระบบภายในบ้านและระบบสาธารณะ เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยเห็นท่อปูนกันมาอยู่แล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้ว ท่อปูนมีไว้ใช้ทำอะไร หน้าที่หลักคืออะไร มีกี่ชนิด มีการใช้งานอย่างไร และท่อปูนหรือท่อคอนกรีตนี้มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปไขข้อสงสัยทั้งหมดนี้พร้อม ๆ กัน พร้อมบอกวิธีการเลือกท่อคอนกรีตให้เหมาะกับงานประปาแต่ละแบบด้วย ท่อปูนหรือท่อคอนกรีต คืออะไร มีกี่ประเภท? ท่อปูนหรือท่อคอนกรีต เป็นท่อระบายน้ำที่ได้รับความนิยมมากในอดีต เพื่อระบายน้ำส่วนเกินออกจากพื้นที่ เข้าสู่ทางท่อที่ได้ติดตั้งเอาไว้ เช่น น้ำเสียจากพื้นที่อุตสาหกรรม หรือตามชุมชนต่าง ๆ ซึ่งท่อปูนนั้นก็มีให้เลือกทั้งแบบท่อกลมและท่อเหลี่ยม ในปัจจุบันท่อคอนกรีตนั้นได้ถูกพัฒนาให้มีความแข็งแรงทนทานมากยิ่งขึ้น สามารถนำมาใช้งานได้อย่างหลากหลาย และรองรับน้ำหนักได้มากอีกด้วย สำหรับท่อคอนกรีตนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จรูปท่อระบายน้ำคอนกรีต หรือ ท่อ ค.ม.ล. จะประกอบไปด้วยปูนซีเมนต์
อิฐแดง มีกี่ประเภท เหมาะกับงานอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ ปัจจุบันนี้ ในไซด์งานก่อสร้างโครงการบ้านจัดสรร หรือโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ เราอาจไม่คุ้นตากับกองอิฐมอญ หรือ อิฐแดงมากนัก โดยเฉพาะในช่วงหลัง ๆ ที่บริษัทอสังหาฯนิยมนำระบบก่อสร้างสำเร็จรูป มาใช้ในงานก่อสร้างบ้าน เพื่อลดต้นทุนการก่อสร้างและต้นทุนด้านแรงงาน แต่หากเป็นไซด์งานก่อสร้างบ้าน ก่อสร้างอาคารในโรงเรียน สร้างอาคารในวัด สร้างโบสถ์ของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง หรือ บริษัทอสังหาฯ รายเล็ก ๆ ในท้องถิ่น เรามักพบเห็นการใช้อิฐแดง อิฐมอญ อิฐบล็อกในไซด์งานก่อสร้างทุก ๆ ที่ ทุกไซต์งานก่อสร้าง สาเหตุที่เราพบเห็นการใช้อิฐแดงหรืออิฐมอญในการก่อสร้าง อาคาร อาคารเรียน โรงอาหาร โรงเรือน หรือ อาคารของหน่วยงานราชการ รวมไปงานก่อสร้างวัด สร้างศาลา สร้างโบสถ์ เนื่องมาจากประโยชน์ในการใช้งานของอิฐแดงนั้นมีความหลากหลาย และยังสามารถประยุกต์ใช้กับพื้นที่ก่อสร้างได้อย่างยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็นการก่อพื้นที่เล็ก ๆ หรือการก่อผนัง ก่อแบบที่มีความซับซ้อนในพื้นที่ที่มีข้อจำกัด ต่างจากอิฐประเภทอื่น ๆ และผนังสำเร็จรูปที่นิยมใช้สร้างบ้านจัดสรร แต่ไม่สามารถนำมาใช้งานในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดและซับซ้อนได้ อิฐแดง คืออะไรอิฐมอญ หรือ อิฐแดง คือ
อิฐบล็อก VS อิฐมวลเบา VS อิฐมอญ ความแตกต่างในการนำไปใช้งาน ในงานก่อสร้างหลาย ๆ ประเภทจำเป็นต้องใช้ “อิฐ” เป็นวัสดุก่อผนัง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้ องค์ประกอบของอาคารสมบูรณ์แบบและเกิดความมั่นคง แข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยมไม่ว่าจะเป็นฝนตก ลมพายุ หรือแสงแดดร้อนจัดก็ตามใครหลาย ๆ คนรวมถึงผู้ออกแบบ สถาปนิก วิศวกร หรือเจ้าของบ้านก็ตาม ที่กำลังจะสร้างบ้านอาคารบ้านเรือน คงจะต้องมองหาอิฐ มาก่อผนัง ก็คงต้องเลือกวัสดุ อิฐดังกล่าว ว่าจะเลือกอิฐ แบบไหนมาก่อผนัง ในบทความนี้เรามี อิฐก่อผนัง 3 ชนิดใหญ่ ๆ ประกอบไปด้วย อิฐบล็อก อิฐมวลเบา อิฐมอญ เรามาทำความรู้จักที่มาที่ไป และข้อดี ข้อเสีย ของอิฐแต่ละประเภทกัน เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการเลือกใช้อิฐประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการและเหมาะสมกับประเภทของอาคารได้อย่างลงตัวและได้ประโยชน์ จากการเลือกอิฐที่ถูกต้องในทุก ๆ แง่มุม อิฐบล็อก & อิฐมวลเบา & อิฐมอญ แตกต่างกันอย่างไร อิฐบล็อกอิฐบล็อก
เสาเข็ม สิ่งสำคัญอันดับแรก ๆ ของงานก่อสร้างที่ไม่ควรมองข้าม หากพูดถึงงานก่อสร้าง เสาเข็ม จะเป็นสิ่งแรกที่อยู่ในภาพจำของใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างขนาดเล็กหรือการก่อสร้างขนาดใหญ่ก็จะมีกระบวนการในการถ่ายเทน้ำหนักของอาคาร ลงสู่พื้นดิน ส่วนใหญ่ก็จะมี 2 ระบบใหญ่ๆ คือ ระบบฐานรากแผ่ ซึ่งใช้ฐานรากถ่ายน้ำหนักจากตัวอาคารลงมาสู่ดินโดยตรง หรือที่เขานิยมเรียกง่ายๆว่า ฐานรากแผ่ แผ่ระบบนี้จะใช้ได้ในการก่อสร้างอาคารขนาดเล็ก น้ำหนักของอาคารไม่มากนัก และสภาพทางธรณีวิทยา หรือสภาพของชั้นดิน จะเป็นดินแข็ง หรือดินทรายที่แข็งแรงเพียงพอที่จะต้านทาน น้ำหนักของอาคารข้างบนได้ ส่วนระบบอีกประเภทหนึ่งที่เราจะกล่าวถึงในบทความนี้คือ ระบบฐานรากเสาเข็ม ซึ่งระบบเสาเข็มมีหน้าที่ถ่ายเทน้ำหนักของอาคาร จากฐานราก ลงสู่ชั้นดินแข็งข้างล่าง ระบบเสาเข็มในงานก่อสร้างปัจจุบันสามารถแบ่งประเภทของเสาเข็มออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ เสาเข็มเจาะ กับเสาเข็มตอก การเลือกประเภทหรือระบบของเสาเข็มให้เหมาะสมและสอดคล้องกับรูปแบบอาคารนั้น ต้องพิจารณาเหตุผล และปัจจัยหลายๆอย่าง ถ้าพิจารณาในเชิงลึก ต้องปรึกษา ผู้ออกแบบหรือวิศวกรผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไม่สามารถเลือกใช้งานโดยพลการได้ เพราะงานฐานราก เสาเข็ม เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบอาคาร และอยู่ในกฎหมายควบคุมอาคาร และกฎกระทรวงฉบับที่6 โดยเป็นงานวิศวกรรมควบคุม ผู้ที่จะออกแบบได้นั้น ต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกร แต่สำหรับผู้ใช้อาคารทั่วไปก็ควรจะมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานระบบเสาเข็ม เพื่อที่จะสามารถ นำไปเป็นข้อมูลในการช่วยตัดสินใจเลือก ระบบเสาเข็มให้เหมาะสมกับอาคารของเราเอง โดยอยู่ภายใต้คำแนะนำของวิศวกรผู้ออกแบบ
หลายๆ คน อาจเคยเห็นภาพบ้านในชนบทอังกฤษสุดคลาสสิกที่ทำจากอิฐมอญ รู้ไหมว่าในประเทศไทยของเราก็สามารถสร้างบ้านที่มีบรรยากาศอบอุ่นแบบนั้นได้เช่นกัน ด้วยการเลือกก่อสร้างบ้านด้วยอิฐมอญ ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความมีเสน่ห์ อบอุ่น แบบชนบทในตะวันตก ด้วยสีสันของอิฐมอญที่มาจากกรมวิถีการเผา ทำให้โทนสีส้มแดงของอิฐมอญ ทำให้บ้านดูอบอุ่นขึ้นทันตา ยิ่งตกแต่งด้วยต้นไม้ ดอกไม้ก็ยิ่งเพิ่มความสวยงามให้กับบ้านสไตล์นี้มากขึ้น ทำให้การสร้างบ้านด้วยอิฐมอญนั้นไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานสักแค่ไหน ก็ไม่ได้ทำให้บ้านดูเก่า ล้าสมัย แต่กลับยิ่งเพิ่มความมีเสน่ห์ให้กลับตัวบ้าน เป็นความคลาสสิกที่คงอยู่เหนือกาลเวลาอย่างแน่นอน นอกจากนี้การที่อิฐมอญมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ ทำให้หลายๆ คนชอบที่จะโชว์แนวของมันเพื่อเพิ่มความแปลกตา และโมเดิร์นให้กับบ้าน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ชื่นชอบอิฐมอญแต่อยากได้ความโมเดิร์น ทันสมัย ดังนั้นไม่ว่าคุณกำลังมีแผนอยากจะมีบ้านอบอุ่นสักหลัง ตึกแถวสไตล์โมเดิร์น ร้านอาหารหรือคาเฟ่ในบรรยากาศอบอุ่น อิฐมอญเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างแน่นอน 7 ข้อดีที่ทำให้การสร้างบ้านจาก อิฐมอญ ถูกใจหลายๆ คน ความแข็งแรงทนทานและคงทนถึงแม้อิฐมอญจะมีน้ำหนักเมื่อเทียบต่อ 1 ตารางเมตรแล้วจะมีน้ำหนักมากกว่า อิฐบล็อก และอิฐมวลเบา ก็ตาม อิฐมอญ เกิดจากการนำดินเหนียวปนทราย มาปั้นขึ้นรูป แต่ไม่ใช่ว่าได้ดินเหนียวปนทรายแล้วจะมาปั้นขึ้นรูปได้เลยทันที ดินเหนียวปนทรายดังกล่าว ต้องผ่านการทดสอบความแข็งแรงและความยืดหยุ่นโดยการ นำดินเหนียวปนทรายมาปั้นขึ้นรูป และนำไปตากแดด ถ้าดินเหนียวปนทรายนั้นมีการ หดตัว แตกร้าว หรือเสียรูปไป ก็อาจจะหมายถึงว่าดินเหนียวนี้ยังไม่ดีพอที่จะนำมาผลิตอิฐแดง แต่ในทางตรงกันข้ามดินเหนียวปนทรายดังกล่าว ไม่มีการยืดหดตัว หรือเสียรูปไปจากเดิม
ทำความรู้จักกับอิฐมอญ วัสดุก่อสร้างที่ถูกใจและตอบโจทย์คนสร้างบ้านได้เป็นอย่างดี สำหรับการก่อสร้างบ้านหรือพื้นที่อาศัยต่าง ๆ นอกจากจะต้องมีกระบวนการก่อสร้างโดยการใช้อิฐ ปูน และหินมาผสมกันอย่างสมบูรณ์ การเลือกวัสดุในการก่อสร้าง ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะบ้าน คือสิ่งที่สร้างมาเพื่อใช้งานในระยะยาว ดังนั้น เราก็ต้องอยากได้สิ่งที่จะคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายและใช้งานได้ดีที่สุด ในวันนี้ เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับอิฐมอญ หรืออิฐแดง วัสดุก่อสร้างที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการและความคุ้มค่า พร้อมเหตุผลที่คนสร้างบ้านนิยมใช้อิฐมอญ มาดูกัน! ทำความรู้จักกับอิฐมอญ คืออะไร มีลักษณะอย่างไร อิฐมอญ หรือที่ใครหลายคนรู้จักกันในชื่อของอิฐแดง เป็นอิฐที่มีส่วนประกอบจากดินเหนียวผสมกับทราย ซึ่งนำมาหมักรวมกันกับขี้เถ้าจากการเผา ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบตัน และกลวง แต่ในสมัยก่อนจะมีแค่เพียงแบบตัด เพราะไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ต้องใช้มือทำด้วยตนเอง โดยอิฐมอญได้รับความนิยมในประเทศไทยเริ่มต้นจากการที่ชาวมอญได้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศไทย และใช้ดินเหนียวในการทำเครื่องปั้นดินเผาต่าง ๆ รวมไปถึงทำอิฐมอญเพื่อก่อสร้างบ้านพักอาศัย อาคาร วัด และสถานที่ต่าง ๆ เพราะมีความแข็งแรงทนทานในการใช้งาน และทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี จนได้รับความนิยมในการใช้งานมายาวนานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการผลิตมากขึ้น ทำให้อิฐมอญ มีหลากหลายรูปแบบทั้งแบบตันและกลวง ที่มีรูตั้งแต่ 2-8 รู เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น