การฉาบปูนบนผิววัสดุประเภทต่างๆนั้น ก็มีขั้นตอน และเทคนิคที่ไม่เหมือนกันเพราะคุณสมบัติของวัสดุงานก่อ แต่ละแบบก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป จึงต้องเน้นหรือ มีเทคนิคการฉาบที่แตกต่างกันออกไป เช่นการฉาบอิฐแดงหรืออิฐมอญ ก็จะไม่เหมือนกับการฉาบอิฐบล็อก เป็นต้น เดียวเรามาสรุปเทคนิคง่ายๆ ที่สำคัญๆ ของการฉาบผนังแต่ละชนิดกันเลยยครับ … เทคนิคการฉาบปูน บนผิววัสดุประเภทต่างๆ 1. การฉาบผนังอิฐมอญ การฉาบบนผนังอิฐมอญ เป็นการฉาบที่ช่างทั่วไปคุ้นเคยดีอยู่แล้ว เพียงระวัง เรื่องความหนา ความเรียบ และการทำงานให้ได้ตามมาตรฐาน 2. การฉาบผนังคอนกรีตบล็อกหรือผนังอิฐบล็อก คอนกรีตบล็อกหรืออิฐบล็อก จะมีความเปราะและซึมน้ำได้มากกว่าอิฐมอญ ดังนั้น ในการรดน้ำ ไม่จำเป็นต้องรดน้ำให้ชุ่มจนเกินไป เพราะจะทำให้ปูน แท้งยากและแต่งผิวได้ลำบาก 3. การฉาบผนังคอนกรีตมวลเบาหรือผนังอิฐมวลเบา ถึงแม้ว่าคอนกรีตมวลเบาหรืออิฐมวลเบา จะมีรูพรุนอยู่มาก (ประมาณ 75% โดยปริมาตร) และสามารถดูดน้ำได้มาก แต่อัตราการดูดซึมจะดูดน้ำได้ช้า ทำให้ การรดน้ำแบบปกติเหมือนขณะฉาบอิฐมอญไม่เพียงพอ มักพบปัญหาฉาบไม่ ดิตและหลุดล่อนมาก การเลือกใช้ปูนซีเมนต์ซึ่งมีคุณสมบัติการยึดเกาะและอัตราการอุ้มน้ำที่ดีมาก จะช่วยลดปัญหาเนื้อปูนถูกดูดน้ำมากเกินไป จึงป้องกันปัญหาการแตกร้าวได้ ปูนซีเมนต์ที่เหมาะสมสำหรับงานฉาบผนังคอนกรีตมวลเบาหรือผนังอิฐมวลเบา ได้แก่ ปูนซีเมนต์ผสม เช่น ปูนตราเสือ, ปูนซีเมนต์ Masonry
Category Archives: ปูนซีเมนต์
ปูนซีเมนต์ราคาถูก ผลิต จำหน่ายปูนซีเมนต์ราคาถูก ปูนซีเมนต์ก่อฉาบ
ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ปูนซีเมนต์ฉาบสำเร็จ ปูนฉาบ ปูนซีเมนต์โครงสร้าง
เทคนิคการฉาบปูน เป็นเทคนิคพิเศษ ที่สามารถเรียนรู้และนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะให้ได้งานผนังฉาบปุนที่ดี แข้งแรงและสวยงาม ซึ่งมีวิธี และลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การรดน้ำผนังอย่างเพียงพอและทั่วถึงก่อนทำการฉาบ เนื่องจากวัสดุก่อแต่ละประเภทส่วนใหญ่จะมีรูพรุนอยู่ในเนื้อวัสดุและจะดูดซึมน้ำ ในขณะที่ปูนฉาบยังไม่แข็งตัวดีนั้น หากถูกวัสดุก่อดูดน้ำออกไปมากจะส่งผลต่อความแข็งแรงของผนังเป็นสาเหตุของการแตกร้าวและหลุดล่อนได้ในภายหลังดังนั้นก่อนทำการฉาบทุกครั้งจะต้องทำการรดน้ำให้ทั่วผนังที่จะ ทำการฉาบ จนผนังก่อดูดน้ำจนอิ่มตัวทั้งนี้ปริมาณน้ำที่รด จะขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุก่อบางชนิดดูดน้ำได้เร็วสามารถรดน้ำครั้งเดียวก็ทำการฉาบได้ แต่วัสดุก่อบางชนิดจะดูดน้ำได้ช้าอาจจะต้องรดน้ำซ้ำจนเห็นว่าวัสดุก่อนั้นอิ่มตัวดีแล้วจึงจะฉาบได้ การรดน้ำให้ชุ่มในช่วงเย็นก่อนทำการฉาบ 1 วัน และ ในวันรุ่งขึ้นก่อนจะเริ่มฉาบ ควรพรมน้ำซ้ำอีกครั้ง จนกว่าจะสังเกตเห็นน้ำซึม ออกมาอีกด้านหนึ่งของผนังที่ไม่ได้พรม 2. การฉาบปูนชั้นแรก การฉาบปูน ควรฉาบอย่างน้อย 2 ชั้น การฉาบสั้นแรก เป็นชั้นที่ปูนฉาบ สัมผัสกับวัสดุก่อ หรือโครงสร้าง ควบคุมการฉายให้ได้ความหนาไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร การฉาบชั้นนี้ จะส่งผลต่อการแตกร้าวและหลุดล่อนได้มาก จึง นิยมใช้ปูนเค็มในการฉาบ เนื่องจากปูนเต็มมีการยึดเกาะที่ดี เพราะมี อัตราส่วนของปูนซีเมนต์มาก แล้วจึงใช้ปูนจืดฉาบชั้นสุดท้าย 3. การปรับระดับโดยใช้บรรทัดปาดปูน เป็นการปรับผิวหน้าของปูนฉาบให้ได้ระดับตามที่ จับเยี่ยม จับปุ่มไว้ โดยการ ใช้บรรทัดปาดปูนถูไปมา ระหว่างปุ่ม หรือเซียม เพื่อตัดเนื้อปูนส่วนเกินออก
วัสดุที่ใช้ในงานฉาบปูน 1. ปูนซีเมนต์ ประเภทของปูนซีเมนต์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับงานฉาบโดยทั่วไป คือ ปูนซีเมนต์ผสม เช่น ปูนตราเสือ เป็นต้น เป็นปูนซีเมนต์ที่มีคุณภาพ สอดคล้องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์ผสม หรือ มอก. 80 ซึ่งจะทำให้ใต้เนื้อปูนที่เหนียวนุ่ม ยึดเกาะได้ดี มีระยะเวลาการแห้งตัวพอเหมาะ เมื่อแข็งตัวจะได้ผนังที่แข็งแรง มีการหดตัวน้อย จึงช่วยลดโอกาสเกิดการ แตกร้าวได้อีกประเภทหนึ่ง คือ ปูนซีเมนต์ Masonry เช่น ปูนตราเสือพลัส เป็นต้น เป็น ปูนซีเมนต์ที่มีคุณภาพสอดคล้องตามมาตรฐาน ASTM C 91 มีคุณสมบัติ รูปที เหมาะสมสำหรับงานฉาบโดยเฉพาะ เนื้อปูนมีคุณสมบัติ ผสมง่าย ฉาบเบา (ใช้แรงในการฉาบน้อย) ลื่นไหลดี จึงทำงานง่าย มีระยะเวลาการแห้งตัว ซีเมน พอเหมาะ อุ้มน้ำได้ดี เมื่อแข็งตัวจะได้ผนังที่เรียบเนียน มีการหดตัวน้อย งานฉาบจึงช่วยลดโอกาสเกิดการแตกร้าวได้ ไม่นิยมใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เนื่องจากมีระยะเวลาแห้งตัว (Setting Time) สั้น ทำให้ไม่เหมาะกับงานฉาบ
ปูนก่ออิฐมอญ ที่ดีนั้น ย่อมได้ผนังก่ออิฐที่ดีด้วยเช่นกัน บทความนี้ จะบอกกล่าวถึงการ ผสมปูนก่ออิฐมอญ ที่ดี ว่ามีเทคนิคการผสมอย่างไร แล้วเมื่อผสมปูนก่ออิฐแล้ว สามารถทิ้งไว้ในระยะเวลากี่ ชั่วโมง ปูนก่ออิฐมอญ ถึงจะสามารถนำไปใช้ก่อได้ เดียวเรามาดูกันนน!!! การผสมปูนก่ออิฐมอญ การผสมปูนทั้งปูนก่อ และปูนฉาบ ในประเทศไทย ช่างปูนส่วนใหญ่จะผสมโดยกะ สัดส่วนตามปริมาตร วิธีการผสมของช่างแต่ละคนก็มักจะแตกต่างกันออกไปตามประสบการณ์ วัสดุและอุปกรณ์ที่มี และสภาพหน้างาน เช่น ใช้ปุ้งกี๋หรือใช้ถังพลาสติกในการตักทรายใช้ถังเปลหรือกระบะที่ก่อขึ้นมาเพื่อการผสมปูน ทำให้ได้ปูนก่อที่มีอัตราส่วนผสมและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยช่างปูนจะพิจารณาสภาพเนื้อปูน และความข้นเหลว ภายหลังการผสม แล้ว จึงปรับเพิ่มปริมาถณปูนซีเมนต์ ทราย หรือน้ำ เพื่อให้ได้สภาพปูนก่อที่ต้องการต่อไป ลักษณะปูนก่อมอญที่ดี เมื่อผสมเสร็จ จะต้องมีความข้นเหลวเหมาะสม มีความ เหนียวนุ่ม เวลาปั้นจะจับตัวเป็นก้อนไม่แห้งแตก มีความเหนียวยึดเกาะก้อนอิฐดี แต่ไม่ เหนียวติดเกรียง ไม่ร่วงหล่นในขณะเคาะอิฐให้ได้ระดับ หรือยุบตัวได้ง่าย ปูนก่อที่ผสมแล้ว ควรใช้ให้หมดโดยเร็ว ไม่ควรทิ้งไว้เกินครึ่งชั่วโมง เพราะปูนก่อ จะเริ่มแห้งและจับตัว ทำให้คุณสมบัติในการใช้งานด้อยลงไป หากจำเป็นอาจต้องทำการปรับ ส่วนผสมและผสมซ้ำอีกครั้ง ลักษณะปูนก่อที่ไม่ดี เนื้อปูนก่อที่แห้งเกินไป
ปูนซีเมนต์ นครนายก ร้านขาย ปูนซีเมนต์ นครนายก บทความนี้จะกล่าวถึง: ปูนซีเมนต์ที่ขายใน จังหวัดนครนายก นครนายก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง (บางหน่วยงานจัดให้อยู่ในภาคตะวันออก) ของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ภูมิศาสตร์ ของจังหวัดนครนายก จังหวัดนี้ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 14 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 101 องศาตะวันออก มีระยะทางจากจากกรุงเทพมหานครตามถนนรังสิต-นครนายก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305) ผ่านอำเภอองครักษ์ถึงจังหวัดนครนายก ระยะทาง 105 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 2,122 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 1,326,250 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบ ทางตอนเหนือและตะวันออกเป็นภูเขาสูงชันในเขตอำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก และอำเภอปากพลี ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับอีก 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี นครราชสีมา และปราจีนบุรี