อิฐ กับงานก่อสร้าง

อิฐกับงานก่อสร้าง

อิฐ กับงานก่อสร้าง

บทความนี้จะกล่าวถึงอิฐก่อผนังที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในบ้านเราโดยจะลงในรายละเอียดที่มาที่ไปของอิฐแต่ละประเภท ว่ามีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

ย้อนไปเมื่อหลายพันปีก่อน ในช่วงเวลาที่มนุษย์เริ่มก่อช่างอารยธรรม จากอิฐ ก้อนเล็กๆ ก้อนแล้วก้อนเส้า ผ่านงินตนาการอันสูงส่ง ผ่านมือของเหล่าช่างฝีมือนับพัน ดิน ก้อนเล็ก ๆ ซึ่งเคยนอนอย่างสงบเงียบอยู่กันแพ้น้ำก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสถาปิดยการม อันยิ่งใหญ่ แม้อาณาจักรจะล่มสลาย อารยธรรมจะเสื่อมสูญ แต่อิฐก็ยังคงทำหน้าที่ของมัน นอกเล่าเรื่องราวอารยธรรมให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษานานนับหลายพันปี นับตั้งแต่อิฐก้อน แรกได้ถูกประดิษฐ์ขึ้น สิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายล้วนก่อตัวขึ้นมาจากอิฐก้อนเล็กๆ นี้ ทั้งสิ้น

อิฐ เป็นเทคโนโลยีการก่อสร้าง ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ ทั้งในเรื่อง ลักษณะทางกายภาพ มิติ การรับกำลัง รวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเพื่อให้ได้คุณสมบัติที่ดีขึ้น มาโดยตลอด ปัจจุบันอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างในประเทศไทยก็มีหลากหลายรูปแบบ เช่น อิฐมอญ อิฐแดง อิฐประดับ, คอนกรีตบล็อก,อิฐบล็อก, และอิฐมวลเบา เป็นต้น

ประวัติการใช้อิฐ

หลักฐานทางโบราณคดี พบการใช้อิฐมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยอารยธรรมอียิปต์ ไอ้ดินโคลนจากริมแม่น้ำในล์มาป่า และขึ้นรูปให้เป็นก้อนตามขนาดที่ต้องการจากนั้น นำไปตากแดดให้แห้งโดยไม่ได้มีการเผาให้สุก (Sun-Bumed Bricks) แต่สำหรับในบาง พื้นที่ซึ่งมีฝนตกถูก เช่น ดินแดนเมโสโปเตเมีย ลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส การตากอิฐมัก ทำได้ลำบากและอาจพบปัญหาฝนชะล้างก้อนอิฐละลาย จึงต้องใช้วิธีเผาให้สุกก่อน แล้วจึงนำ ไปใช้ในการก่อสร้าง

ในดินแดนสุวรรณภูมิ สมัยที่อาณาจักรลพบุรีมีความเจริญรุ่งเรืองนั้น พบหลัก ฐานการใช้อิฐในการก่อสร้างเช่นกัน อิฐในสมัยนั้นมีลักษณะ แบน กว้าง ผิวเรียบ แต่อาจ เป็นเพราะว่าการทำอิฐมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน หรืออาจเป็นปัญหาจากแหล่งวัตถุดิบ ทำให้ ชนชาติขอมเปลี่ยนมาใช้ศิลาแลงและหินทรายในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมในยุคต่อมา
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1300 ยาถณาจักรทวาราวดี ยิ่งเจริญรุ่งเรืองอยู่แถบตะวัน ตายลงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก็ได้ผลิตอิฐของตนเองขึ้นใช้เช่นกัน อิฐของพวาราวดีมีขนาดใหญ่มาก ค่อนข้างแบน มีสีหมากสุกจากการเมา

สำหรับคนไทย รู้จักการใช้อิฐมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่ามีชื่อเสียงมากในเรื่อง การหัวเครื่องปั้นดินเผา อิฐของสุโขทัยมีขนาดและลักษณะคล้ายอิฐของขอม และทวาราวดี แต่ในการใช้งาน เริ่มมีการนำมาประยุกต์ใช้กันงานก่อสร้างอื่น ๆ นอกเหนือจากการก่อผนัง เช่น นำมาก่อเป็นโครงพระพุทธรูป แล้วทำการฉาบปูนทับภายนอก

ต่อมา การสร้างเมืองใหม่ในสมัยอยุธยา ได้ทำให้มีฐมีความจำเป็นมากขึ้น ความรู้ ในการทำอิฐจึงแพร่ขยายไปในหมู่ประชาชนเป็นวงกว้าง แบ่งเป็นสกุลช่างต่าง ๆ โดยสกุล ช่วงที่มีชื่อเสียงและเก่าแก่ที่สุดได้แก่ สกุลช่างทวารดี

จากอดีตที่ผ่านมา แหล่งการท่าอิฐที่สำคัญ ได้แก่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ในบางพื้นที่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เช่น อำเภอบางปะหัน และในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ เช่น อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด อิฐสุวรรณภูมิเป็นอิฐที่มีคุณภาพดี เนื่องจาก ดินที่นำมาเป็นวัตถุดิบที่สำคัญ เป็นดินที่มีคุณภาพดี ไม่เค็มมาก และมีลักษณะเป็นดิน เหนียวปนทราย จึงทำให้อิฐมีความแข็ง ไม่แตกง่าย

ในสมัยรัตนโกสินทร์ คนกลุ่มแรกที่เริ่มผลิตและจำหน่ายอิฐ ได้แก่ ชาวมอญ ซึ่ง ทั้งชุมชนอาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากเกร็ด โดยใช้ดินที่งมมาจากแม่น้ำนั่นเอง ผสมกับแกลบ ขึ้นรูปแล้วนำไปเผา เสร็จแล้วจึงใส่เรือออกเร่ขายจนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้ชื่อ “อิฐมอญ” เป็นคำที่ใช้เรียกอิฐดินเมาจนกลายเป็นชื่อสามัญไป ซึ่งตาม มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อิฐก่อสร้างสามัญ หรือ มอก. 77 ใช้ชื่อว่า “อิฐก่อสร้างสามัญ”

ในปัจจุบัน ถึงแม้อิฐจะมีพัฒนาการไปจากในสมัยอดีตเป็นอย่างมาก ทั้ง กระบวนการผลิตที่นำเครื่องจักรเข้ามาใช้ ทำให้ได้อิฐที่มีคุณภาพ สามารถรับแรงได้มากขึ้น และมีขนาดที่ได้มาตรฐานมากขึ้น แต่อิฐมอญซึ่งเป็นอิฐที่ทำด้วยมือ ก็ยังได้รับความนิยมใช้ ในงานก่อฉาบและงานโครงสร้างต่าง ๆ เพราะมีแหล่งผลิตกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซื้อหาได้ง่าย และมีราคาถูก ส่วนอิฐซึ่งทำด้วยเครื่องจักร ถึงแม้จะมีคุณภาพได้มาตรฐานกว่า แต่มีราคาแพง จึงนิยมใช้สำหรับงานตกแต่งหรือโชว์แนวมากกว่า

อิฐมอญ อิฐแดง
อิฐมอญ อิฐแดง

อิฐมอญ หรืออิฐแดง

ในยุคปัจจุบัน การทำอิฐส่วนใหญ่ นิยมใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยผลิต เนื่องจาก สามารถทำงานได้รวดเร็ว และสะดวกขึ้น อีกทั้งชิ้นงานยังมีขนาดได้มาตรฐานกว่า เราจึง นิยมเรียกอิฐมอญหรืออิฐก่อสร้างสามัญ ซึ่งผลิตจากเครื่องรีดอิฐนี้ว่า “อิฐมาตรฐาน หรืออิฐ โชว์แนว” เนื่องจากมีขนาดได้มาตรฐานและมีผิวเรียบสวยงาม

• กรรมวิธีการผลิตอิฐมอญ

กรรมวิธีการผลิตอิฐโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งทีผลิตด้วยมือ หรือด้วยเครื่องจักรนั้นจะประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ๆ คือ การเตรียมวัตถุดิบ, การขึ้นรูปหรือการปั้นอิฐ, การเผา, และ การเตรียมจัดจำหน่าย เกิดการเจะใช้วัตถุดิบ  เช่น ดินเหนียว, ทราย, และเป็นเพลิน เช่น หิน, หรือแหบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.ดินในการทำอิฐมอญ

คุณสมบัติด้านวิศวกรรมของดิน มีความสำคัญต่อการผลิตอิฐ ทั้งใน เรื่องการแยง การขึ้นรูป, การปมา การรับแรงอัด และการดูดชิมน้ำ ดินที่ใช้ จะไวที่มีทรายปนอยู่บ้างในอัตราส่วนที่เหมาะสมไม่มากจนเกินไป และจะต้องไม่มีกรวดปน
การคุณกมบัติส่วยให้เม็ดดินเกาะกันเป็นก้อน และขึ้นรูปได้ง่าย ใน ระหว่างที่ยังเผาไม่สุก แต่ดินที่มีดินเหนียวปนมากเกินไป จะหดตัวมาก ทำให้แตกร้าวได้เมื่อฝั่งให้แห้ง และจะบิดตัวมากเมื่อเมาสุก วิธีแก้ไขจะต้อง ผสม ทรายเพิ่ม
คืนที่มีกรวดบ่นอยู่ด้วย เมื่อนำไปเผา กรวดจะแปรสภาพเป็นปูนชาวฝังอยู่ในเนื้อ ปูนขาวจะดูดน้ำมากและทำให้อิฐแตกง่าย
โดยปกติ ดินที่จะนำมาใช้ ควรเป็นดินที่ขุดลึกลงไปประมาณ 1 – 1.5 เมตร การที่จะนำผ้าดินมาใช้ จะต้องทำการผสมและนวดจนมีความเหนียวมากขึ้น ดิน ที่จะนำมาใช้นั้น ควรจะประกอบด้วย ดินเหนียว 60%, ทราย 20% และแร่ ธาตุอื่น ๆ (เช่น หินปูน และเหล็กออกไซด์) อีก 20% วิธีตรวจสอบดินที่จะนำมาใช้สามารถทดสอบง่าย ๆ โดยการนำดินมาปั้นเป็นก้อน แล้วผึ่งลมหรือตากให้แห้ง ถ้าก้อนคืนทดตัวหรือแตกร้าวมาก หมายความว่า ดินนั้นมีส่วนผสมของดินเหนียวมากเกินไป ถ้าก้อนดินปุ๋ยหรือเปราะ แสดงว่า มีทรายปนมากเกินไป

2. ทรายในการทำอิฐมอญ

มีคุณสมบัติป้องกันการแตกร้าวและการหดตัว หากดินที่นำมาใช้มี ทรายบ่นมากเกินไป อิฐจะเปราะและทักได้ง่าย แร่ธาตุอย่างอื่นจะช่วยในการ แปรสภาพของสารในดินในขณะที่เผาสารจำพวกออกไซค์จะทำให้อิฐมีสีต่าง ๆ กัน เมื่อเผาสุกแล้ว

3. แกลบในการทำอิฐมอญ

อิฐมอญส่วนมาก จะมีส่วนผสมของแกลบอยู่ด้วย การใช้แกลบผสมใน เนื้อดิน มีเหตุผลสืบเนื่องมาจากเมื่อเผาอิฐให้สุกแล้ว แกลบในเนื้อดินจะไหม้ไฟ ทำให้เกิดรูพรุนในก้อนอิฐ อิฐจะมีน้ำหนักเบา และดูดน้ำได้บ้างทำให้ปูนเกาะ อิฐได้ดี ปริมาณแกลบที่ใช้ผสมจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ของดินเป็นหลัก อิฐมอญโดยทั่วไป มักจะใช้แกลบผสมประมาณ 100 ลิตร ต่อ 1,000 ก้อน

การขึ้นรูป หรือการปั้นอิฐมอญ

• การขึ้นรูป หรือการปั้นอิฐ คือ การนำคืนที่ผ่านการเครียมโดยการหมัก ผลม และ นวดแล้ว มาปั้นให้เป็นก้อน การปั้น สามารถทำด้วยมือหรือทำโดยเครื่องจักร จากนั้นผึ้ง ให้แห้ง เพื่อเตรียมสำหรับการเผาให้เป็นอิฐ
ก่อนการหมัก จะต้องเตรียมวัตถุดิบ คัดเอาสิ่งที่ไม่ต้องการออก เช่น เศษสารอินทรีย์ รากไม้ใบหญ้า, ก้อนกรวด, และก้อนหิน เป็นต้น คลุกเคล้าให้ดินมีความชุ่มชื้นแล้วทิ้งไว้ อย่างน้อยประมาณ 24 ชั่วโมง เพื่อให้ดินกระจายตัวออก จะทำให้นวดและขึ้นรูปได้ง่ายขึ้น
การปั้นอิฐในประเทศไทย ส่วนมากจะใช้แรงงานคน ปั้นด้วยมือ โดยวิธีการอัดดิน ลงในแบบไม้ที่มีขนาดต่างๆ กันออกไป ตามขนาดของอิฐที่ต้องการ ขนาดของอิฐที่ทำกัน ในแต่ละท้องที่จะแตกต่างกันออกไป ด้วยเหตุนี้ ศูนย์กำหนดรายการมาตรฐานแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับสถาบันที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง เช่น วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, สมาคมสถาปนิกสยาม, กรมโยธาเทศบาล, และ กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น ทำการกำหนดขนาดและมิติของอิฐขึ้น เปรียบเทียบกับอิฐใน ท้องถิ่นต่าง ๆ
ก้อนดินที่อัดลงในแม่พิมพ์แล้ว เรียกว่า “อิฐดิบ” หลังจากตากอิฐดิบไว้ประมาณ 8 ชั่วโมง จะทำการตบอิฐด้วยไม้ยาว เพื่อให้แน่นและเข้ารูป หลังจากตบแล้ว จะนำอิฐมาไสให้ เข้ารูปได้สัดส่วน จากนั้นตากให้แห้งอีกประมาณ 2 – 4 วัน เมื่ออิฐดิบแห้งสนิทดีแล้ว จึง จะนำมาวางซ้อนกันแบบโปร่ง ๆ เพื่อให้แห้งสนิทยิ่งขึ้นแล้วรอการเผาต่อไป การวางอิฐข้อน กันลักษณะนี้ เรียกว่า “การคูณอิฐ”
ส่วนอิฐที่ผลิตโดยใช้เครื่องจักร หรือเครื่องรีดอิฐนั้น วัตถุดิบจะถูกหมักอยู่ในบ่อ หมักข้างเครื่องรีด จากนั้นจะถูกลำเลียงป้อนเข้าเครื่อง อันดับแรก เครื่องจะทำการตีและ นวดให้ดินเข้ากันก่อนถูกรีตออกมาอีกด้านหนึ่ง ตันที่ถูกรีดออกมาเป็นเส้นยาวจะถูกตัดด้วย ลวดแบ่งเป็นก้อน อิฐดิบจะถูกนำไปตากก่อนทำการเผา

• การเผาอิฐมอญ

การเผาอิฐ เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และต้องเสียค่าใช้จ่ายมากที่สุดในกระบวนการผลิต เชื้อเพลิงที่ใช้สามารถเลือกใช้ได้ทั้งแกลบและฟืน แต่โดยส่วนใหญ่คนไทยจะนิยมใช้แกลบใน การเผา ในบางประเทศ เช่น อินเดียและไต้หวัน ซึ่งไม่มีทั้งแกลบและฟื้น จะเผากันโดยใช้ผง ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง สำหรับระยะเวลาในการเผาก็จะแตกต่างกัน การเผาด้วยฟืนจะใช้เวลา น้อยกว่าการเผาด้วยแกลบ
เตาเผารัฐที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในประเทศ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่ เตาเผาอิฐ แบบชั่วคราว, และเสาเผาอิฐแบบถาวร

เตาเผาอิฐแนบชั่วคราว เป็นเตาที่สร้างขึ้นสำหรับใช้เผาอิฐครั้งหนึ่ง ๆ เมื่อเผาจน สุกแล้วก็รื้อออก โดยทั่วไป จะนำอิฐมากองเรียงกันเป็นแถว มีช่องไฟห่างกันเล็กน้อย ผนัง โดยรอบใช้อิฐวางเรียงกันปิดทึบ สูงกว่ากองด้านใน ด้านบนเปิดไว้สำหรับเค็มแกลบ เมื่อจุดไฟให้ด้านล่างติดไฟทั่วแล้วก็สุมไฟให้คุติดลามมาจนถึงด้านบน ใช้เวลาเผาประมาณ 15-20 วัน
ส่วนเตาเผาอิฐที่ใช้หินนั้น ด้านในจะวางอิฐติดกันทึบ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานด้าน เย่างมีช่องให้ความร้อนผ่านให้คลอด บางครั้ง ช่องระหว่างแถวอาจจะมีช่องไฟบ้างแต่ก็แคบมาก ตลอดเวลาการเผานั้น จะต้องคอยควบคุมความร้อนให้สม่ำเสมออยู่ตลอดเวลา ด้วย การเสียเชื้อเพลิงให้กระจายเต็มพื้นที่ หากเชื้อเพลิงกองอยู่ที่ใดที่หนึ่งมากแล้ว จะทำให้ความ ร้อนบริเวณนั้นสูงมากเกินไป อิฐที่ได้จะมีสีดำไม่สวยงาม และไม่แข็งแรง
เตาเผาอิฐแบบชั่วคราวนี้ จะมีอิฐแตกหักเสียหายอยู่บ้าง โดยเฉพาะในกรณีที่ เตรียมต้นไม่ดี หรืออิฐลับยังไม่แห้งสนิท อาจมีการแตกหักเสียหายถึง 15 – 20% ถ้าเผา ด้วยเตาเผาแบบถาวร จะมีอัตราความเสียหายน้อยกว่า
เตาเผาอิฐแบบถาวร จะต้องลงทุนสูงกว่าเตาแบบชั่วคราว เพราะอิฐที่ใช้ก่อผนังเตา จะต้องเป็นอิฐแบบพิเศษ สามารถทนความร้อนได้สูง มีขนาดใหญ่กว่าอิฐธรรมดา ค่าก่อ สร้างแพง และยังต้องมีการบำรุงรักษาด้วย แต่จะมีความสะดวกในการใช้งานมากกว่าแบบ ชั่วคราว สามารถเผาได้ทุกฤดูกาล หรือประยุกต์ใช้เผาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาอื่น ๆ เช่น กระเบื้องมุงหลังคา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้อีกด้วย ในประเทศไทยพบเห็นได้สามแบบ
แบบเตามังกร : เตาที่ก่อเป็นอุโมงค์ยาว ด้านหนึ่งค่ำ สำหรับใส่เชื้อเพลิง ตลอด ตัวเผามีช่องใส่ฟันเป็นระยะ ๆ อีกด้านหนึ่งสูงติดกับปล่องไฟ มีประตูสำหรับ ลำเลียงอิฐเข้าในเตา การเรียงอิฐ จะวางให้มีช่องไฟเล็กน้อย การเผาจะใช้ เวลาประมาณ 24 ชั่วโมงก็จะสุก แต่จะต้องทำการอบไว้อีกประมาณ 3 วัน จนกระทั่งเดาเย็นแล้ว จึงอนอิฐสุกออกมา
แบบเตาได้หวัน : เตาที่ก่อเป็นรูปกะทะคว่ำ ปล่องไฟอาจจะอยู่ตรงกลาง หรือ ต่อออกไปด้านนอกของเตา ช่องใส่เชื้อเพลิงอาจมีอยู่หลายช่องเช่นเดียวกับ แบบ เตามังกร เมื่อเผาจนอิฐสุกจะต้องอบไว้จนเตาเย็นจึงค่อยชนอิฐออกมาใช้งานได้
แบบเตาเหลี่ยม : การก่อเตาจะก่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้าน หนึ่งเป็นประตูสำหรับขนถ่ายอิฐและไส่เชื้อเพลิง อีกสามด้านทึบ ล้านตรงข้าม ประตูจะมีช่องต่อกับปล่องไฟ การใช้งานจะเหมือนกับสองแบบข้างต้น

• การคัดอิฐมอญ

อิฐที่เผาจนสุกแล้ว จะแบ่งตามลักษณะทางกายภาพของเนื้ออิฐได้ดังนี้
1. อิฐชั้นที่ 1 : เป็นอิฐที่เผาได้คุณภาพดีที่สุด มีลักษณะลุกหัวทั้งก้อน อิฐจะ มีสีเหลืองปนแดง เวลาเคาะมีเสียงกังวาน เนื้อแกร่ง รูปร่างและขนาด สม่ำเสมอ
2.อิฐสั้นที่ 2 : มีลักษณะสุกทั่วทั้งก้อน แต่รูปร่างอาจบิดเบี้ยวเล็กน้อย ก้อนอาจมีรอยร้าวบ้าง
3. อิฐชั้นที่ 3 : เป็นอิฐที่เผาไม่สุกทั่วทั้งก้อน จะมีสีเหลืองซีดจางกว่าอิฐชั้นที่ 1. หรืออาจมีสีเหลืองปนค้า แข็งตัวไม่เท่ากันทั้งก้อน ส่วนที่ไม่ค่อยสุกะ ยุ่ยง่าย เวลาเคาะมีเสียงดังทึบ รูปร่างและขนาดก็อาจจะบิดเบี้ยวและไม่ สม่าเสมอ บางครั้งจะพบรอยแตกร้าวลึก
4. อิฐชั้นที่ 4 : เป็นอิฐที่เมาจนสุกเกินไป สีจะออกค่อนข้างค้า รูปร่างและขนาด รูปที่ 5-14 กา ไม่สม่ำเสมอ และมีรอยแตกร้าวลึก
อิฐที่เหมาะกับการทำงานก่อสร้างอาคาร คืออิฐชั้นที่ 1 หรือ 2 ส่วนอิฐชั้นที่ 3 และ 4 นั้น โดยปกติผู้ผลิตจะไม่ส่งออกขายในตลาดทั่วไป แต่จะขายให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้ในงานอื่น เช่น ทำถนน หรือน้าไปทุบสำหรับเป็นพื้นก่อนเทคอนกรีตลงฐานรากอาหาร หรืองานปรับระดับ

สามารถเข้าไปชมข้อมูลและภาพรวมของโรงงานอิฐแดงกันได้   https://trich.co.th/brick-factory/

หรือ คลิกเพื่อชม  https://www.xn--e3cf5c4bc3b.com/

 

อิฐมวลเบา
อิฐมวลเบา

คอนกรีตมวลเบา หรืออิฐมวลเบา

• ประวัติการใช้งานอิฐมวลเบา

วัสดุก่อชนิดหนึ่ง ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมสำหรับงานก่อสร้าง ได้แก่ Autoclaved Aerated Concrete หรือเรียกว่า คอนกรีตมวลเบา (บางที นิยมใช้คำว่า อิฐมวลเบา) เริ่มมีการค้นคว้าพัฒนาในแถบยุโรปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2466 และผลิตจำหน่ายประมาณปี พ.ศ. 2473 เนื่องจากคุณสมบัติเด่นของวัสดุซึ่งสามารถใช้งานได้ดีในสภาวะอากาศที่รุนแรง เช่น แถบอากาศหนาวจัดในแถบยุโรปและญี่ปุ่นตอนบน มีน้ำหนักเบาทำให้ประหยัดโครงสร้าง และมีความเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี เริ่มมีการผลิตใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2538 มีลักษณะเป็นก้อนสีขาว มีรูพรุน ขนาดก้อน 20 – 60 เซนติเมตร หนา 7.5-10.0 เซนติเมตร เป็นต้น

• วัตถุดิบอิฐมวลเบา

คอนกรีตมวลเบา ผลิตจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทราย, ยิปซั่ม, ปูนขาว, ผสมกับ น้ำ และผงอลูมิเนียม (ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ)

• การขึ้นรูปอิฐมวลเบา

การผลิตคอนกรีตมวลเบา จะผลิตโดยใช้เครื่องจักรควบคุม ในขั้นตอนแรกจะผสม วัตถุดิบชนิดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เมื่อผงอลูมิเนียมผสมกับน้ำ จะทำให้เกิดฟองอากาศขนาดเล็กที่ไม่ต่อเนื่องกัน (Close Cell) กระจายอยู่ทั่วเนื้อวัสดุ (ปริมาณฟองอากาศจะมากถึง 75% ของเนื้อวัสดุโดยปริมาตร) ทำให้วัสดุมีน้ำหนักเบา และมีความเป็นฉนวนที่ดี หลังจากนั้นจะตัดเป็นก้อนด้วยเส้นลวดตามขนาดต่าง ๆ ที่ต้องการ และนำไปอบในเตาอบไอน้ำความดัน สูงขนาดใหญ่) (High Pressure Steam Autoclave) ด้วยอุณหภูมิประมาณ 180 °C เป็น เวลา 12 ชั่วโมง
การผลิตคอนกรีตมวลเบา มีมาตรฐานควบคุม คือ มอก. 1505 คอนกรีตมวล เบาแนนกระจายกักฟองอากาศอบไอน้ำ

• วิธีการใช้งานอิฐมวลเบา 

คอนกรีตมวลเบา หรืออิฐมวลเบา สามารถใช้เป็นวัสดุก่อผนังได้ทั้งภายในและ ภายนอกอาคาร ปูนก่อนี้ จะมีความหนาเพียง 2 – 3 มิลลิเมตร เท่านั้น
ก่อนเริ่มการก่อ ในชั้นแรก จะใช้ปูนทรายทั่วไป ปรับระดับพื้นเสียก่อน จากนั้น ทำการก่อโดยก่อสลับก้อน และจะต้องยึดเหล็กเพลท (Metal Strap) หรือหนวดกุ้งทุก ๆ 2 ชั้น เนื่องจากคุณสมบัติของคอนกรีตมวลเบาจะแตกต่างจากอิฐทั่วไปมาก จึงต้องการปูนฉาบที่อุ้มน้ำและยึดเกาะได้ดีเป็นพิเศษ ผิวปูนฉาบจะมีความหนาเพียง 5 – 10 มิลลิเมตร เท่านั้น

 

อิฐบล็อก
อิฐบล็อก

คอนกรีตบล็อกหรืออิฐบล็อก

วัสดุก่ออีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย คือ คอนกรีตบล็อก หรือ อิฐบล็อก (Concrete Block) มีลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยมขนาดโดยประมาณ 20 x 40เซนติเมตร หนา 7 – 10 เซนติเมตร การใช้งาน ใช้ก่อลักษณะเดียวกับการก่ออิฐ แต่จะมีข้อดีคือ สามารถก่อได้รวดเร็วกว่าและมีขนาดมาตรฐานกว่า ทำให้ประมาณจำนวนวัสดุได้ง่ายและเมื่อรวมค่าแรงการก่อสร้างแล้ว จะถูกกว่าการก่ออิฐ

• วัตถุดิบอิฐบล็อก

คอนกรีตบล็อกทำจากปูนซีเมนต์ ผสมกับมวลรวมขนาดเล็ก เช่น ทราย, กรวด, ย่อย, และหินฝุ่น เป็นต้น การคัดเลือกวัตถุดิบ ต้องคัดเลือกหินที่มีความแข็งแกร่ง ไม่เปราะแตกหักง่าย เพราะจะส่งผลต่อความแข็งแรงของคอนกรีตบล็อก

• การขึ้นรูปอิฐบล็อก

โดยการผสมแห้งหรือขึ้น เริ่มด้วยการนำปูนซีเมนต์ผสมกับหินเกล็ดหรือหินย่อยและน้ำสะอาดผสมให้เข้ากัน อัดผ่านเครื่องอัดบล็อกซึ่งมีทั้งแบบอัตโนมัติและแบบใช่มีอฯ มหลังจากแกะแบบแล้ว บ่มไว้อีกประมาณ 7 – 14 วัน ก็สามารถนำไปใช้งานได้

• การใช้งานอิฐบล็อก

คอนกรีตบล็อกมีทั้งแบบรับน้ำหนักและแบบไม่รับน้ำหนัก แบบรับน้ำหนักจะมีลักษณะเป็นแท่งผิวเรียบ มีรูตรงกลางในแนวตั้ง ส่วนแบบไม่รับน้ำหนัก หรือที่เรียกว่า Screen Block จะมีช่องเป็นลวดลาย เมื่อก่อแล้วสามารถต่อเป็นลวดลายหรือให้และสบผ่านได้นิยมเรียกเป็นภาษาชาวบ้านว่า “บล็อกข่องลม”

………………………………………