เทคนิคการเลือกเสาเข็มให้ตรงกับการใช้งาน
การคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาและป้องกันการทรุดตัวของผิวดิน วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การตอกหรือฝังเสาเข็มก่อนขึ้นโครงสร้าง เพราะแรงดึงดูดของโลกทำให้วัตถุตั้งอยู่บนพื้นดินได้อย่างมั่นคง แต่หากวัตถุมีน้ำหนักมากๆ และตั้งอยู่บนผิวดินที่มีสภาพอ่อนตัว น้ำหนักของวัตถุก็กดลงพบผิวดินและทำผิวดินมีการทรุดตัวลง
ยิ่งหากเราเปลี่ยนจากวัตถุที่ตั้งอยู่บนผิวดิน มาเป็นอาคาร บ้านเรือนที่เราก่อสร้างขึ้น น้ำหนักของอาคารก็จะมีผลให้ผิวดินทรุดตัวเช่นกัน ซึ่งการทรุดตัวของผิวดินจะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของโครงสร้างและตัวอาคารที่ก่อสร้างขึ้น ดังนั้น ในการก่อสร้างบ้านหรืออาคารขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากๆ เราจึงพบเห็นกันเป็นประจำว่าวิศวกรมักจะฝังเสาเข็มก่อนทุกครั้ง
ทำความรู้จักเสาเข็ม คืออะไร
เสาเข็ม (Pile Foundation) คือ ส่วนประกอบของโครงสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของสิ่งปลูกสร้าง เช่น รองรับน้ำหนักของตัวอาคาร บ้านเรือน ตึกสูง โดยเสาเข็ม จะถูกฝังไว้ด้านใต้สุดของสิ่งก่อสร้าง เสาเข็ม มีลักษณะเป็นท่อนฝังไว้ใต้ดิน และมีการเชื่อมต่อกับฐานรากของสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นโครงสร้างส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน เพื่อคอยแบกรับน้ำหนักจากเสา และถ่ายเทน้ำหนักไปสู่เสาเข็ม เพื่อถ่ายเทน้ำหนักและกระจายลงสู่ชั้นดินด้านล่าง โดยอาศัยแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับดิน และแรงต้านทานจากปลายเข็มของชั้นดินแข็ง
ความสำคัญและจำเป็นของเสาเข็ม
หลายคนมักเกิดคำถามว่า ทำไมในการก่อสร้างอาคาร หรือสร้างบ้าน ต้องมีการฝังเสาเข็ม เพราะการฝังเสาเข็ม จะทำให้เจ้าของบ้าน หรือเจ้าของอาคารต้องจ่ายเงิน หรือมีต้นทุนในการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น แถมยังทำให้ต้องเสียเวลาในการก่อสร้างมากขึ้น จึงทำให้หลายๆ คนเลี่ยงที่จะตอกหรือฝังเสาเข็ม เพื่อประหยัด หรือลดรายจ่ายในการก่อสร้างลง
สำหรับ การฝังเสาเข็มนั้น มีความจำเป็นมากหรือน้อยแค่ไหน อย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับความความเหมาะสมของสิ่งปลูกสร้าง และพื้นดินที่ที่จะมีการก่อสร้าง ว่ามีสภาพดินอ่อนหรือแข็ง และต้องการให้อาคารที่สร้างนั้นมีความมั่นคงแข็งแรง รองรับสภาพการใช้ในแต่ละพื้นที่ได้มากน้อย หรือนานแค่ไหน ดังนั้นการฝังเสาเข็ม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อโครงสร้างของอาคาร บ้านเรือน และตึกสูง เพราะเสาเข็มจะช่วยรองรับน้ำหนัก ไม่เช่นนั้นหากเกิดการทรุดตัวของดินเพราะแบกรับน้ำหนักมากเกินไป จะก่อให้เกิดปัญหาการทรุดตัวของอาคารได้
ดังนั้น เสาเข็ม จึงมีความสำคัญมากในงานก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน เพราะช่วยแบกรับน้ำหนักของสิ่งปลูกสร้าง และป้องกันปัญหาการทรุดตัวของอาคาร บ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างได้อย่างดี โดยการแบกรับน้ำหนักของเสาเข็ม จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
- เสาเข็ม จะช่วยรับน้ำหนักโดยอาศัยแรงพยุงตัวที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวของเสาเข็มที่ฝังอยู่กับผิวดินที่อยู่โดยรอบ หรือเรียกโดยทั่วไปว่า “การรับน้ำหนักโดยแรงพยุงผิว”
- เสาเข็ม จะช่วยแบกรับน้ำหนัก โดยอาศัยชั้นดินแข็ง ซึ่งอยู่ลึกลงไปจากชั้นหน้าดิน ซึ่งด้านล่างลึกลงไปนั้นชั้นดินอาจเป็นดินแข็ง ดินทราย หรือ อาจเป็นชั้นหิน ซึ่งการแบกรับน้ำหนักลักษณะนี้ จะทำให้เกิดการส่งถ่ายน้ำหนักจากสิ่งก่อสร้างลงไปยังชั้นดินแข็ง หรือชั้นหิน เรียกว่า”การรับน้ำหนักที่ปลาย”
รู้ 4 เรื่องเพื่อเลือกเสาเข็มได้เหมาะกับงาน
จากความสำคัญและความจำเป็นของเสาเข็ม ที่กล่าวมาข้างต้น คงทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจแล้วว่าทำไมทุกๆ ครั้งที่จะก่อสร้าง อาคาร บ้านเรือน และตึกสูงต่างๆ ทำไมจะต้องมีการตอกเสาเข็ม หรือ ฝังเสาเข็ม ก่อนหล่อโครงสร้างอาคารในชั้นผิวดิน ทั้งๆ ที่การทำแบบนั้นทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม และมีอีกหลาย ๆ คนที่ยังสงสัยว่า แล้วจะมีวิธีในการเลือกเสาเข็ม แบบไหนมาใช้งาน จึงจะเหมาะกับอาคาร บ้านเรือน หรือตึกสูงที่กำลังจะก่อสร้างอยู่ วันนี้เราได้นำปัจจัยหรือ 4 เรื่องสำคัญที่จะช่วยให้คุณสามารถเลือกเสาเข็ม ได้เหมาะกับงานก่อสร้างมาฝาก โดย 4 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนจะเลือกใช้เสาเข็ม ประกอบด้วย
- ต้องรู้สภาพของดิน และรู้กำลังการรับน้ำหนักของดิน เพราะผิวดินในแต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกัน ก่อนการก่อสร้างจึงต้องมีการตรวจเช็คก่อนว่าชั้นดินมีลักษณะแบบไหน เป็นชั้นดินแข็ง ดินทราย หรือชั้นหิน ซึ่งจะช่วยให้เราเลือกเสาเข็ม ได้เหมาะกับสภาพของดิน นอกจากนี้ สภาพดิน ยังเป็นตัวกำหนด ขนาดและความยาวว่าควรเลือกใช้เสาเข็ม แบบไหน เพราะเสาเข็ม ที่อยู่ในชั้นดินอ่อนจะใช้แรงเสียดทานรอบผิวช่วยในการรับน้ำหนัก แต่เสาเข็มอยู่ในชั้นดินแข็ง หรือ ชั้นทรายจะใช้ปลายเสาเข็มในการแบกรับน้ำหนักเป็นหลัก
- ต้องรู้น้ำหนักของสิ่งก่อสร้างที่เสาเข็มจะต้องแบกรับ เพราะเสาเข็มมีหน้าที่หลักในการช่วยรองรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง การเลือกเสาเข็ม จึงต้องเลือกเสาเข็ม ที่สามารถรองรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างได้ ดังนั้น ในการก่อสร้างจึงต้องมีวิศวกรช่วยคำนวณน้ำหนักของสิงก่อสร้างทั้งหมด เพื่อจะเลือกขนาดและความยาวของเสาเข็ม ใช้งานได้อย่างถูกต้อง
- ต้องรู้สภาพพื้นที่ก่อสร้าง เนื่องจากสภาพแวดล้อมในพื้นที่จะก่อสร้าง อาคาร บ้าน หรือก่อสร้างตึกสูงนั้น จะเป็นตัวช่วยในการ กำหนด หรือเลือกใช้ประเภทของเสาเข็มได้ เพราะในแต่ละพื้นที่มีสภาพดินที่แตกต่างกัน บางพื้นที่ไม่สามารถใช้ เสาเข็มตอกที่มีความยาวมากได้ ก็จะต้องเปลี่ยนไปเลือกใช้เสาเข็มขนาดเล็กแทน
- ต้องรู้ว่างบประมาณของเรามีเท่าไหร่ เพราะการเลือกใช้เสาเข็ม แต่ละประเภท จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ดังนั้นในการเลือกใช้เสาเข็ม จึงต้องคำนึงถึงปัจจัยทางด้านค่าใช้จ่าย ประกอบการตัดสินใจด้วย เพราะหากเลือกใช้เสาเข็ม ที่มีราคาสูงเกินไป อาจกระทบกับคุณภาพวัสดุก่อสร้างส่วนอื่น ๆ ของบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างได้ แต่หากเลือกเสาเข็มที่ราคาถูกเกินไป อาจเกิดปัญหาตามมาในภายหลังเพราะคุณภาพไม่ดี ดังนั้นในการเลือกเสาเข็ม จึงควรขอคำแนะนำจากวิศวกร เพื่อของคำแนะนำในการเลือกเสาเข็มว่าครวจเลือกเสาเข็มชนิดหรือประเภทไหนจึงเหมาะสมทั้งคุณภาพและราคา
การแบ่งประเภทเสาเข็ม
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า ในการฝังเสาเข็มนั้น ชั้นดินด้านล่างที่อยู่ลึกลงไปอาจมีทั้งที่เป็นชั้นดินแข็ง ดินทราย และชั้นหิน ดังนั้น จึงต้องเลือกใช้เสาเข็มในการแบกรับน้ำหนักที่แตกต่างกัน เพราะในบางพื้นที่อาจจะต้องใช้งานเสาเข็ม เพียงแบบเดียว แต่บางพื้นที่อาจต้องใช้เสาเข็ม 2 แบบ ขึ้นอยู่กับการองค์ประกอบของสภาพสิ่งก่อสร้าง และสภาพของดิน ซึ่งในการเลือกใช้เสาเข็ม นั้นต้องอาศัยวิศวกรช่วยประเมิน ออกแบบ กำหนด การใช้เสาเข็มประเภทใด จึงเหมาะสมกับงานก่อสร้างนั้น โดย เสาเข็ม ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 3 ประเภทประกอบด้วย
- เสาเข็มตอก เสาเข็มประเภทนี้ มีทั้งเสาคอนกรีต เสาเหล็ก และเสาไม้ ส่วนมากจะนิยมใช้เสาเข็มคอนกรีต เนื่องจากแข็งแรงกว่าเสาไม้และราคาถูกกว่าเสาเหล็ก สำหรับเสาคอนกรีตแบ่งย่อยได้ 2 ชนิด คือ
- เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforce concrete pile) เสาเข็มประเภทนี้ก็คล้ายกับเสาเข็มแบบอัดแรงซึ่งเสริมเหล็กคล้ายๆกันแต่ไม่ได้อัดแรงเข้าไปเนื้อคอนกรีต ยกตัวอย่างที่เห็นภาพได้ชัดเจนคือ เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง จะมีแบบตัวธรรมดาที่มีการเสริมเหล็ก แต่จะไม่อัดแรงเข้าไปในเนื่อ คอนกรีตเป็นต้น
- เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง (Prestressed concrete pile) โดยเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงจะเป็นประเภทเสาเข็ม ที่นิยมมากที่สุด ลักษณะการผลิตจะทำการอัดแรงโดยการดึงลวดแรงดึงสูงเข้าไปในเนื้อคอนกรีต หลังจากนันก็เทคอนกรีต เมื่อคอนกรีตแข็งตัวได้อายุ ก็ตัดลวดแรงดึงสูง ทำให้เกิดแรงอัดเข้าไปเนื้อคอนกรีต แบบนี้เขาเรียกว่า Pre-Tension Prestress Concrete การดึงก่อนคอนกรีตทำให้คอนกรีตมีความแข็งแรงมากขึ้น ทำให้เสาเข็มสามารถรับแรงทางด้านข้างได้ดี เพราะมีความยาวกว่าปกติ และประหยัด มีพื้นที่หน้าตัดเล็ก
- เสาเข็มเจาะ มีความแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในด้านการใช้งาน โดยต้องหล่อที่หน้างานจริง และกรรมวิธีในการหล่อนที่ซับซ้อน โดยใช้เครื่องมือเจาะ ขุดดินลงไปให้ได้ความลึกของเสาเข็ม และขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม ตามที่กำหนด แล้วใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม โดย เสาเข็มเจาะแบ่งออกเป็น 2 ขนาดคือ
- เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก เรียกว่าเสาเข็มเจาะแบบแห้ง
ขั้นตอนในการเจาะเสาเข็มเคร่าๆ พอสังเขป มีดังต่อไปนี้ครับ- ทีมงาน servey ต้องกำหนดตำแหน่งที่ถูกต้องของเสาเข็มเจาะ โดยการทำเครื่องหมายด้วยวิธีการใดไก็ได้ให้มองเห็นชัดเจนไม่หลุดง่าย โดยปกติทั่วไป ก็ใช้หมุดไม้ หรือเชือกฟางสีแดง หรือใช้สเปย์พ่นสีให้มองเห็นได้ชัดเจน การวางหมุดเสาเข็มจะต้องวางได้ชัดเจนและไม่คลุมเครือและสับสนเพราะบางครั้งหนึ่งฐาน อาจจะมีเสาเข็มเจาะ หลายต้นอาจจะทำให้สับสนได้ ทีมงานเซอร์เวย์อาจจะมีตัวช่วยในการวาง ตำแหน่งให้รวดเร็ว และถูกต้อง เช่นกล้องดิจิตอลหรือ กล้องวัดมุมเป็นต้น
- ทีมงานของเสาเข็มเจาะ จะต้องทำการวางแผน ในเรื่องของลำดับในการเริ่มเจาะเสาเข็ม ลำดับในการเจาะก่อน- หลัง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานที่ไม่ไปกัดขวาง ตัวเอง และผู้อื่น เพราะ อาจมีปัญหาเรื่องการกองดินที่ขุดขึ้นมา ในบางครั้งพื้นที่การก่อสร้างอาจจะไม่เอื้ออำนวยต้องขนดินออกจากไซด์งานทุกระยะๆ ซึ่งในการบริหารจัดการหรือการวางแผนในเรื่องของลำดับในการเจาะของเสาเข็มแต่ละต้นก็มีความสำคัญมากเหมือนกัน
- ลงปลอกเหล็กชั่วคราว ทีมงานเสาเข็มเจาะ กำหนดใช้ลูกตุ้มน้ำหนักประมาณ 0.9 ตัน ตอบบล็อกเล็กชั่วคราวซึ่งมีความยาว 1.20 ม. ลงดิน โดยแต่ละท่อนจะยึดติดกันด้วยเกลียว โดยจะตอกลงไปจนถึงระดับที่มีความแข็งแรงเพียงพอ เพื่อป้องกันการพังทลายของดินลงมาในหลุมเจาะ ซึ่งโดยปกติแล้วการลงปลอกเหล็กกั้นดินพังชั่วคราวหรือ (Temporary casing ) ตามวิธีปกติ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครความยาวปลอก เหล็ก กันดินพังสำหรับหินอ่อนจะมีความยาวประมาณ 15 ถึง 17 เมตร แต่ สำหรับบ้านสวยสวยหลังนี้ ลงไป 12 ท่อน ยาว ประมาณ 14.40 ม. หรือให้อยู่ในชั้นดินแข็ง หรือให้เลยชั้น ดินอ่อนลวไป ประมาณ 5 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเข็ม ก็ได้ บอกเล็กจะทำการวัดค่าความเบี่ยงเบนในแนวราบและแนวดิงโดยค่าความเบี่ยงเบนที่หนึ่งญาติให้คือความเป็นเพื่อนในแนวราบ 5 เซนติเมตรสำหรับเข็มเดียว ความเบี่ยงเบนในแนวราบ 7 เซนติเมตรสำหรับเข็มกลุ่ม ความเบี่ยงเบนแนวดิ่ง 1: 100 โดยรวม
- การขุดเจาะดินด้วยกระเช้าเก็บดิน ( Bucket) การขุดดินด้วยกระเช้าจะใช้กระเช้าเก็บดินชนิดที่มีลิ้นเปิด -ปิด และชนิดที่ไม่มีลิ้น ในช่วงหินอ่อนจะใช้กระเช้าชนิดมีลิ้น ที่ปลายเก็บดิน โดยใช้น้ำหนักของตัวมันเอง เมื่อกระเช้าถูกทิ้งไปในรูเจาะดินจะถูกอัดให้เข้าไปอยู่ในกระเช้าทำซ้ำกันเรื่อยๆ จนดินถูกอัดเต็มกระเช้าจึงนำมาเท ออก การเจาะดินจะดำเนินการไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงชั้นดินแข็งปานกลาง จึงจะเปลี่ยนมาใช้กับเช้าชนิดไม่มีลิ้น ที่ปลายเก็บต่อไปจนได้ความลึกที่ต้องการ ซึ่งบ้านสวยสวยหลังนี้ สีของดินตั้งแต่ระดับ 1- 18 เมตร สีของดินเป็นสีดำคล้ำเป็นดินเหนียวอ่อน เมื่อมาเจอความลึกที่ 18 เม็ดดินเริ่มเปลี่ยนสี เริ่มเป็นสีน้ำตาลออกเหลืองๆ และเป็นดินแข็ง สำหรับบ้านสวยสวยหลังนี้ขุดดินไปจนถึงที่ระดับ 21.50 เมตร สีของดินเป็นสีเหลืองเข้ม เป็นดินเหนียวแข็ง จึงหยุดขุดเจาะดิน และเตรียมพร้อมใส่เหล็กเสริมและเตรียมที่จะเทคอนกรีตต่อไป
- การเสริมเหล็ก เข็มเจาะ โครงการนี้ใช้เหล็กข้ออ้อย SD 40 ขนาด 12 มิลลิเมตร จำนวนหกเส้น ส่วนเหล็กปลอก SR 24 ระยะห่างไม่เกิน 20 เซนติเมตร โดยยกเหล็กให้พ้นจากก้นหลุมอย่างน้อย 50 ซม หรือถ้าเป็นโครงการอื่นก็แล้วแต่วิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนดปริมาณเหล็กเสริมข้างต้น ข้างข้างเหล็กเสริมจะใส่ Spacer ที่ทำด้วยลูกปูนไว้เป็นระยะเพื่อช่วยประคองโครงเหล็กให้ส่งตัวอยู่ในรูเจาะและเป็น Covering ของเสาเข็ม ขนาด 7.50 ซม
- การเทคอนกรีตนั้นต้องเป็นคอนกรีตที่มีความข้นเหลวพอเหมาะสำหรับการทำเสาเข็มเจาะ หรือตามวิศวกรผู้ออกแบบกำหนด การเทคอนกรีตนั้นต้องให้สูงกว่าไปปลอกเหล็ก 3-5 เมตร เพื่อป้องกันการยุบตัวของคอนกรีตโดยสลับกับการถอนปลอกเล็กจนหมด ควรเธคอนกรีตเผื่อการสกัดหัวเสาเข็ม ในส่วนที่มีสิ่งสกปรกหรือน้ำปูนออกอย่างน้อยหนึ่งถึงสามเท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเสาเข็มเจาะ
- การถอนปลอกเหล็กชั่วคราว ด้วยรอกพ่วง การถอนปลอกเหล็กจะถอนออกโดยใช้ระบบล็อคพ่วงซึ่งจะดำเนินการถอนออกทีละต้นทีละท่อน ในระหว่างการถอนควรระมัดระวังมิให้เศษวัสดุอื่นๆตกหล่นลงในหลุมเจาะ และควรตรวจสอบระดับคอนกรีตให้สูงกว่าระดับปลายปลอกเหล็กด้วย
- เสร็จสิ้นกระบวนการการเจาะเสาเข็มแบบแห้ง เมื่อเสร็จสิ้นการเจาะเสาเข็มแล้วเข็มต้นต่อไปควรจะอยู่ห่างจากเข็มที่เจาะเสร็จแล้วไม่น้อยกว่าหกเท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางเข็ม และต้องมีเวลาให้คอนกรีตเซตตัวไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
- เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ เรียกว่าเสาเข็มเจาะแบบเปียก
การทำเสาเข็มเจาะเปียกเป็นกระบวนการที่ใช้ในงานก่อสร้างเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับอาคารหรือโครงสร้างต่างๆ เจาะเปียกจะแตกต่างจากเจาะแห้งคือ ใช้สารละลายเบนโทไนท์เข้ามาช่วยไม่ให้ดินพังระหว่างการทำงาน สรุปสั้นๆได้ดังนี้- ปลอกเหล็กชั่วคราว (Temporary Casing): ติดตั้งปลอกเหล็กชั่วคราวเพื่อป้องกันดินพังทลายในขณะเจาะ
- การขุดดินด้วยกระเช้าเก็บดิน (Bucket): ใช้กระเช้าเก็บดินเจาะดินจนถึงระดับความลึกที่ต้องการ
- เติมสารละลายเบนโทไนท์ (Bentonite): เติมสารละลายเบนโทไนท์เพื่อรักษาเสถียรภาพของผนังหลุมเจาะ
- ลงเหล็กเสริม: วางเหล็กเสริมลงในหลุมเจาะตามขนาดและความยาวที่กำหนด
- การเทคอนกรีต: เทคอนกรีตลงในหลุมเจาะโดยใช้ท่อส่งคอนกรีต (Tremie Pipe) ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 นิ้ว
- การถอนปลอกเหล็กด้วยรอกพ่วง: ถอนปลอกเหล็กออกจากหลุมเจาะหลังจากเทคอนกรีต
- เสร็จสิ้นขั้นตอนการเจาะเสาเข็ม: รอให้คอนกรีตแข็งตัวและดำเนินการต่อไป
- เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก เรียกว่าเสาเข็มเจาะแบบแห้ง
- เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง หรือที่เรียกว่า “เสาเข็มสปัน” (Spun Pile) เป็นเสาเข็มที่ผลิตที่ใช้กรรมวิธีการ ปั่นคอนกรีตในแบบหล่อ ซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อ โดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำหนักได้มาก เสาเข็มสปันมีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง มีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ การตอกเสาเข็มชนิดนี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่น และวิธีการตอกด้วยระบบเจาะกด เสาเข็มสปัน เหมาะในการสร้างสะพาน หรือใช้เป็นฐานรากของอาคารสูงที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูงเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลมแรงและการเกิดแผ่นดินไหว
สำหรับท่านที่กำลังค้นหาแหล่งจำหน่ายเสาเข็ม และวัสดุก่อสร้าง เพื่อใช้งานก่อสร้าง หรือใช้สร้างบ้านของตัวเอง “ทีริช คอนสทรัคชั่น” คือ กลุ่มธุรกิจ ที่เกิดจาก จากการรวมตัวของ สถาปนิกและวิศวกรรุ่นใหม่ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการก่อสร้าง เพื่อตั้งโรงงานผลิตวัสดุก่อสร้าง และประกอบธุรกิจค้าส่งวัสุก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งมีโรงงานผลิตวัสดุก่อสร้าง ผลิตอิฐมอญหรืออิฐแดงแดงราคาถูก ผลิตแผ่นพื้น เสาเข็ม อิฐมวลเบาและอิฐประเภทต่าง ๆ เพื่อให้บริการลูกกค้าอย่างเต็มรูปแบบ สามารถจัดส่งได้ทั่วประเทศไทย โดยยึดถือความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก มีบริการ รับให้คำปรึกษาในทุกๆ แง่มุมของงานก่อสร้าง ไม่ว่าเป็นในแง่มุมของการใช้วัสดุก่อสร้าง เทคนิคการทำงาน หรือปัญหาที่เกิดขึ้นของงานก่อสร้างต่างๆ โดยทีมงานสถาปนิก และวิศวกรดดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อที่จะสร้างความ พึงพอใจให้แก่ลุกค้า ไม่ว่าจะเป็น ผู้รับเหมา เจ้าของโครงการ หรือแม้แต่บุคลทั่วไป
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เสาเข็ม เสาเข็มเจาะ หรือวัสดุก่อสร้าง ได้ที่
โทร : 02-988-5559, 081-549-5666
Line : @TRICH