อิฐบล็อก VS อิฐมวลเบา VS อิฐมอญ ความแตกต่างในการนำไปใช้งาน
ในงานก่อสร้างหลาย ๆ ประเภทจำเป็นต้องใช้ “อิฐ” เป็นวัสดุก่อผนัง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้ องค์ประกอบของอาคารสมบูรณ์แบบและเกิดความมั่นคง แข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยมไม่ว่าจะเป็นฝนตก ลมพายุ หรือแสงแดดร้อนจัดก็ตามใครหลาย ๆ คนรวมถึงผู้ออกแบบ สถาปนิก วิศวกร หรือเจ้าของบ้านก็ตาม ที่กำลังจะสร้างบ้านอาคารบ้านเรือน คงจะต้องมองหาอิฐ มาก่อผนัง ก็คงต้องเลือกวัสดุ อิฐดังกล่าว ว่าจะเลือกอิฐ แบบไหนมาก่อผนัง ในบทความนี้เรามี อิฐก่อผนัง 3 ชนิดใหญ่ ๆ ประกอบไปด้วย อิฐบล็อก อิฐมวลเบา อิฐมอญ เรามาทำความรู้จักที่มาที่ไป และข้อดี ข้อเสีย ของอิฐแต่ละประเภทกัน เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการเลือกใช้อิฐประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการและเหมาะสมกับประเภทของอาคารได้อย่างลงตัวและได้ประโยชน์ จากการเลือกอิฐที่ถูกต้องในทุก ๆ แง่มุม
อิฐบล็อก & อิฐมวลเบา & อิฐมอญ แตกต่างกันอย่างไร
- อิฐบล็อก
อิฐบล็อก คือ ประเภทของอิฐก่อผนังประเภทหนึ่งที่ถูกผลิตขึ้นจากส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 และทรายบวกกับน้ำและอาจจมีสารผสมเพิ่มเพื่อเร่งปฎิกิริยาทางเคมีด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสมอิฐบล็อกหรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า คอนกรีตบล็อก แต่เรียกภาษาทั่ว ๆ ไปว่า อิฐบล็อก อิฐบล็อกเป็นวัสดุก่อสร้างประเภทวัสดุก่อผนัง ใช้สำหรับการก่อผนังอาคารทั่ว ๆ ไป ลักษณะของผิวเนื้อจึงมักมีความขรุขระเป็นรูพรุน ไม่เรียบเนียน สีเทา มีขนาดใหญ่ มักมีช่องอยู่ตรงกลาง ระดับความหนาแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้ เช่น ความหนา 7 เซนติเมตร เป็นอิฐบล็อกที่นิยมใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่ในปัจจุบันด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยี ที่ทันสมัยขึ้นจะทำให้มีการผลิตอิฐบล็อกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยจะมี ความหนา 9 เซนติเมตร ความหนา 14 เซนติเมตร และความหนา 19 เซนติเมตร ซึ่งขึ้นอยู่กับ ผู้ที่เลือกใช้งานตามความเหมาะสมของงานนั้น ๆ แต่ความจริง ๆ แล้วอิฐบล็อกกับคอนกรีตบล็อกมันคนละตัวกัน อิฐบล็อกทำมาจากส่วนผสมของซีเมนต์ทรายและหินย่อย ส่วนคอนกรีตบล็อกทำมาจากส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์กับหินและทรายสามารถรับแรงอัดได้สูงประมาณ 300 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรจึงเป็นที่นิยมใช้ในงานปูพื้นและปูทางเท้าหรืองานที่ต้องการความแข็งแรงสูงเป็นกรณีพิเศษ เรามาดูกันว่า ข้อ ดีข้อเสีย ของอิฐบล็อกมีอะไรบ้าง แต่ก่อนอื่นเราลองมาคำนวณต้นทุน ของการใช้ผนังก่อ อิฐบล็อกว่า มีต้นทุนกี่บาทต่อ ตารางเมตร เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบต่อไป
ราคาโดยรวมของผนังก่ออิฐบล็อกใน 1 ตรม. มีดังนี้อิฐบล็อกใช้ 12.50 ก้อน *5 บาท = 62.50 บ./ตรม
ปูนก่อสำเร็จรูป 1 ถุง 50 กก. ก่อได้เฉลี่ย 2.5ตร.ม. (ก่อปูนหนา 1-1.5 ซม.) คิดปูนก่อสำเร็จรูป
ถุงละ 70 บาท ฉะนั้น 1 ตรม.ใช้ปูนก่อ = 28 บ./ตรม
ค่าปูนฉาบสำเร็จรูป 1 ถุง 50 กก. ฉาบได้เฉลี่ย 2 ตร.ม. . (ฉาบหนา 1-1.5 ซม.)คิดปูนฉาบ สำ เร็จรูปถุงละ 80 บาทฉะนั้น 1 ตรม.ใช้ปูนฉาบ = 40 บ./ตรม
ค่าแรงเหมาก่อ 1 ตรม. เป็นเงิน 80 บาทฉะนั้น สรุปรวมค่าใช้ผนังอิฐบล็อก ต่อ 1 ตารางเมตรฉาบปูนข้างเดียว เป็นเงิน = 210.50 บ/ตรม.
(ข้อมูลในเบื้องต้นเป็นการประมาณเคร่า ๆ ซึ่ง ขึ้นอยู่กับปัจจัย ต่าง ๆ เช่น ฝีมือแรงงาน สถานที่ในการทำงาน ความหนาของผนังฉาบ และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ราคาในแต่ละพื้นของวัสดุนั้น ๆ )- ข้อดีของอิฐบล็อก
- มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับอิฐประเภทอื่น จึงช่วยประหยัดต้นทุนในการก่อสร้างโดยรวม
- ก้อนอิฐบล็อกมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับอิฐมอญ จึงช่วยประหยัดเวลาการก่อสร้าง ช่วยให้งานเสร็จเร็วมากขึ้น
- ช่องตรงกลางมีส่วนช่วยในการระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี
- ช่างมีความเคยชิน มีความชำนาญในการใช้งานมากกว่า อิฐประเภทอื่น ๆ ทำให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น
- อิฐบล็อก หาได้ง่ายตามร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไปแม้ หาซื้อจำนวนน้อย ๆ ก็สามารถ หาซื้อได้ง่าย
- อิฐบล็อก เมื่อทำการก่อสร้าง ให้ถูกวิธี สามารถใช้งานได้ไม่ค่อยแตกต่างจากอิฐประเภทอื่น
- อิฐบล็อกในปัจจุบัน มีขนาดที่หลากหลาย สามารถเลือกใช้ได้ ตามความต้องการได้
- อิฐบล็อกสามารถระบายความร้อนได้ดีกว่า อิฐมอญ
- อิฐบล็อกมีมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) มารองรับ สามารถ มั่นใจในคุณภาพการใช้งานได้
- อิฐบล็อกมีน้ำหนักพอ ๆ กับอิฐมวลเบาทำให้งานโครงสร้างออกโดยรวมเล็กลงได้
- ช่วยอุดหนุน ธุรกิจ SME ภายในประเทศ เพราะส่วนใหญ่ 70% เป็นธุรกิจครัวเรือน ทำให้สวนแบ่งทางธุรกิจไม่ตกเป็นของ บริษัทฯ และนายทุนใหญ่ ๆ
- ข้อเสียของอิฐบล็อก
- หากช่างฉาบไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ชำนาญมากพอโอกาสเกิดการรั่วซึมจากน้ำมีสูง เนื่องจากผิวเป็นรูพรุน
ระดับความแข็งแรงทนทาน การรับแรงกดทับมีน้อยเมื่อเทียบกับอิฐประเภทอื่น - เนื้อเปราะ แตกหักง่าย จึงไม่เหมาะกับการใช้งานทำผนังประเภทที่ต้องมีการเจาะรูเยอะ ๆ สำหรับยึดเกาะ รวมถึงงานจำพวกเดินท่อสายไฟ ท่อน้ำประปาในผนัง
- อิฐบล็อก ไม่ค่อยถูกเลือกใช้ในงานที่มีมาตรฐานสูง เพราะความเชื่อว่าไม่แข็งแรง
- อิฐมวลเบา
อิฐมวลเบา คือ ประเภทของอิฐที่ผลิตจากวัสดุหลายชนิด ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนขาว ยิปซั่ม ทราย ผงอะลูมิเนียม และน้ำเป็นต้น (ทั้งนี้ผู้ผลิตแต่ละเจ้าอาจมีการใช้ส่วนผสมแตกต่างกันไปตามสูตรของตนเอง) วัตถุดิบทั้งหมดจะถูกผสมเข้าด้วยกันอยู่ในรูปแบบของเหลว เกิดปฏิกิริยาทางเคมีของส่วนผสม ทำให้เกิดฟองอากาศเล็ก ๆ มากมาย กระจายตัวกันอย่างสม่ำเสมอในเนื้อคอนกรีตมวลเบา แต่ไม่เชื่อมต่อกัน (Unconecting Voids) ฟองอากาศเหล่านี้ทำให้มีน้ำหนักเบาและเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีเยี่ยม หลังจากนั้นคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัวเต็มที่จะถูกตัดแบ่งตามขนาดของบล็อกที่ต้องการ แล้วเก็บบ่มไว้ระยะเวลาหนึ่ง จึงนำเข้าอบด้วยไอน้ำที่มีอุณหภูมิ และแรงดันสูง (Autoclaved Method) เป็นเวลานาน บล็อกจึงเกิดเป็นผลึก Calcium silicate hydrate ที่มีความแข็งแรงสูง พร้อมนำไปใช้งาน อิฐมวลเบา ในประเทศไทย สามารถแบ่งตามวิธีการผลิตได้ 2 รูปแบบคือ- Non – Autoclaved System อิฐมวลเบาไม่อบไอน้ำ อิฐมวลเบาชนิดนี้ แรกเริ่มเดิมที มีการนำมาใช้งานในประเทศไทย แต่ในภายหลังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าที่ควร อิฐมวลเบาที่ไม่อบไอน้ำ จะมีน้ำหนักไม่เบาเท่าที่ควร สีจะเป็นสีเทาหม่น ๆ มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ และที่สำคัญไม่มีการรับรองมาตรฐานจากสถาบันที่น่าชื่อถือ ปัจจุบันจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมในวงการก่อสร้าง
- Autoclaved System อิฐมวลเบาแบบอบไอน้ำ อิฐชนิดนี้ เป็นที่นิยม เป็นอย่างมากในวงการก่อสร้าง ในประเทศไทย อิฐชนิดนี้ มีขั้นตอนการผลิตโดยสังเขปดังนี้ เมื่อได้สวนผสม ในการผลิต จะถูกเก็บไว้ในที่ที่เหมาะสม เช่น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1. ปูนขาว, แร่ยิปซั่ม จะถูกเก็บไว้ในไซโล ส่วนทรายหลังจากผ่านกระบวนการบดละเอียดแล้ว ก็จะนำมาเก็บในถังพักทราย เช่นเดียวกับ อลูมิเนียม วัตถุดิบทุกตัว จะถูกผสมในเครื่องผสม ตามลำดับ และระยะเวลาที่กำหนด ก่อนเทลงในแบบหล่อ หลังจากทำการผสมจนได้เวลาที่กำหนดแล้ว จึงเทในแบบหล่อเพื่อนำไปพักอีกครั้งหนึ่ง
ต่อมา นำส่วนผสมที่ได้มาที่ห้องพักอุณหภูมิ โดยควบคุมอุณหภูมิที่อยู่ภายในห้อง เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง แล้วนำแบบหล่อพร้อมกับเค๊กที่ผ่านการบ่มจนได้เวลา มาเปิดแบบออกเพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการตัด ต่อไป นำเค๊กที่ได้มาผ่านกระบวนการตัด ด้วยเส้นลวดตามขนาดความหนา ความกว้าง ความยาว ตามที่ต้องการ หลังจากนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการตัดด้วยเส้นลวด มารอที่หน้าตู้อบไอน้ำ เพื่อเตรียมนำเข้าตู้อบ นำผลิตภัณฑ์ที่ได้ลำเลียงเข้าตู้อบไอน้ำ แรงดันสูงแล้วอบเป็นเวลา 12-14 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 185-190 องศาเซลเซียส เมื่ออบจนครบตามกำหนด ให้นำผลิตภัณฑ์ออกจากเตาอบ และฝั่งให้แห้งในอากาศเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มา ผ่านกระบวนการจัดเก็บ ก็ถือว่าสิ้นสุดกระบวนการผลิต อิฐมวลเบาแบบอบไอน้ำ
จะเห็นได้ว่ากระบวนการผลิตอิฐมวลเบา เป็นอุตสาหกรรม ที่มีกระบวนการที่สลับซับซ้อน และใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูง และต้องใช้ความรู้เฉพาะทางเป็นอย่างดี ทำให้อุตสาหกรรม อิฐมวลเบามีต้นทุนการผลิตที่สูง ผู้ที่จะสามารถผลิตอิฐประเภทนี้ได้นั้น ในประเทศไทยมีบริษัทฯหรือองกรค์ที่ผลิตอิฐมวลเบานี้ ไม่ถึง 5 แบรนด์หรือ 5 บริษัทฯ
คุณภาพและมาตรฐานของอิฐมวลเบา อิฐมวลเบาแบบอบไอน้ำ มีมาตรฐานอุตสาหกรรมมารองรับ ทั้ง มาตรฐานอุตสาหกรรมมาตรฐาน G2 และมาตรฐานG4 ซึ่งถ้าจะให้ผู้อ่านเข้าใจ มาตรฐานของ G2 ,G4 ได้ง่ายขึ้น นั้น ให้เข้าว่า เป็นเรื่อง ของคุณภาพของวัตถุดิบ G4 ก็จะมีคุณภาพของวัตถุดิบ ที่ดีกว่า G4 แน่นอนว่าเมื่อมีวัตถุดิบ ที่ดีกว่าผลลัพธ์ ที่ได้ของอิฐมวลเบาต้องดีกว่าแน่นอน คุณบัติจากการทดสอบคุณภาพในด้านต่าง ๆ นั้นจะแสดงให้เห็นได้ว่า มีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ผู้บริโภคสามารถ ร้องขอและศึกษาเพิ่มเติมจาก ข้อมูลคุณสมบัติของอิฐมวลเบาของเจ้าของผลิตภัณฑ์ได้
มาตรฐาน ขนาดของอิฐมวลเบา อิฐมวลเบาโดยทั่วไป มาตรฐานอุตสาหกรรมจะเริ่มต้นที่ความหนาที่ 7.50 ซม จะมีมาตรฐาน ความกว้าง 20 ซม. ความยาว 60 ซม. แต่บางแบรนด์ก็สามารถผลิตที่ความหนา 7.0 ซม ได้ และก็สามาถ นำไปก่อ ใช้งานได้ตามปกติ มาตรฐานความหนาที่มีเพิ่มเติม คือหนา 9,10,12.5,14,15,17.50,20 ซม.ตามลำดับ ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ความหนาตามความต้องการ และประเภทของอาคารได้
ราคาโดยรวมของอิฐมวลเบา เทียบต่อพื้นที่ 1 ตรม
ส่วนราคาอิฐมวลเบา ขนาด 7 ซม. ก้อนละ 27 บ.1 ตรม.ใช้8.33 ก้อน เป็นเงิน 224.91 บ. ค่าปูนกาวก่อ 10 บาท/ตรม. ค่าปูนฉาบเป็นเงิน 26.50 บ./ตรม ค่าแรง ก่อ+ฉาบ 200บ./ตรม
รวมราคาอิฐมวลเบาใช้ ก่อผนัง 1ตรม เป็นเงินโดยประมาณ =460บ./ตรม.
(ข้อมูลในเบื้องต้นเป็นการประมาณเคร่า ๆ ซึ่ง ขึ้นอยู่กับปัจจัย ต่าง ๆ เช่น ฝีมือแรงงาน สถานที่ในการทำงาน ความหนาของผนังฉาบ และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ราคาในแต่ละพื้นของวัสดุนั้น)
หลังจากที่เราได้รู้กระบวนการผลิตอิฐมวลเบา ขนาดของอิฐมวลเบา มาตรฐานต่าง ๆ และการคำนวณค่าใช้จ่ายต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ไปแล้ว เดียวเรามาดูว่า ข้อดีข้อเสียของอิฐมวลเบา ในภาพรวมมีอะไรบ้าง -
ข้อดีของอิฐมวลเบา
- อิฐมวลเบามีน้ำหนักเบา ทำให้น้ำหนักโดยรวมน้อย ทำให้สามารถลด ลดขนาดของโครงสร้างลงได้ กว่า โครงสร้างที่รับผนังก่ออิฐมอญ
- ช่วยลดความร้อนภายในตัวบ้าน อาคารได้อย่างดีเนื่องจากผิวมีลักษณะเป็นรูพรุนมากถึง 75%
มีคุณสมบัติในการดูดเสียงได้อย่างดี จึงไม่ทำให้เสียงภายนอกเข้ามารบกวน และเสียงภายในไม่ดังออกมากเกินไป - แข็งแรงทนทาน เป็นฉนวนกันไฟ สามารถรับแรงกดได้ดีมาก
- อิฐมวลเบามีขนาดที่หลากหลาย สามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการของผู้บริโภค
- อิฐมวลเบามีน้ำหนักเบา มีการติดตั้งแบบแห้ง ๆ โดยใช้ปูนกาว ทำให้ลดระยะเวลาการทำงานให้สั้นลง
- ผนังก่อมวลเบามี ทับหลังและเสาเอ็นสำเร็จรูปมารองรับ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลา หล่อเทเหมือนผนังชนิดอื่น
- ปูนฉาบอิฐมวลเบาหาได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป สามารถใช้ได้เหมือนกันทุก ๆ แบรนด์
- ผนังอิฐมวลเบา มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามอุตสาหกรรม มอก. รองรับ น่าเชื่อถือ
- ใช้แรงงานน้อย ในการ ก่อ คนน้อยคน ก็สามารถ ก่อผนังประเภทนนี้ได้
- การตัด เจาะ แขวน อุปกรณ์ หรือ ท่อร้อยสายไฟ ก็ทำได้โดยทำตามคำแนะนำของผู้ผลิต
ขนาดความกว้าง ยาว หนา มีความเที่ยงตรงสูงมาก เพราะใช้เครื่องจักร ตัด ซึ่งง่ายต่อการใช้งาน - ช่างหรือองค์ความรู้การก่อ มวลเบา สามารถเรียนรู้ได้ง่าย ไม่ต้องใช้ทักษะมากมาย
- อิฐมวลเบา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป เพราะเป็นที่นิยมของ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง
- ราคาเมื่อเทียบต่อ ตาราเมตรแล้วถือว่า ราคาสูง แต่เมื่อเทียบกับปัจจัยในด้านต่าง ๆ ในภาพรวมแล้วถือว่ามีต้นทุนในภาพรวมทั้งโครงการ ที่พอพอกับอิฐก่อผนังประเภทอื่น ๆ
-
ข้อเสียของอิฐมวลเบา
- ราคาแพงที่สุดเมื่อเทียบกันในด้านราคาต้นทุนก่อ ตารางเมตร อย่างเดียว จะแพงว่าอิฐประเภทอื่น
- ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญแบบเฉพาะทาง รวมถึงอุปกรณ์บางชนิดก็ต้องเฉพาะเจาะจง ที่สามารถใช้กับอิฐมวลเบาได้อย่างเดียว เช่น อุปกร์การก่อ หรือเหล็ก อุปกรณ์ยึดต่าง ๆ
- ด้วยการมีรูพรุนจำนวนมากจึงมักดูดซับความชื้นเอาไว้สูง ไม่เหมาะกับการทำผนังห้องน้ำ
- การเจาะ สกัด ตัด หรือแก้งาน หรือการฝังท่อน้ำ ท่อไฟไฟฟ้า หากทำไม่ถูกวิธี อาจเกิดปัญหาตามมาได้
- เศษวัสดุที่เหลือจากการใช้งานอิฐมวลเบา ไม่สามารถนำไปถม หรือบดอัดให้แน่นได้
- ปูนฉาบที่ใช้ ต้องใช้ปูนฉาบสำเร็จเฉพาะอิฐมวลเบาเท่านั้น ไม่สามารถใช้ปูนผสมทรายละเอียดทั่ว ๆ ไปได้
- งานผนังอิฐมวลเบา ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการซื้อน้อย มีการผูกขาดในด้านของราคาของโรงงานผลิตเพราะในประเทศไทย มีไม่กี่ แบรนด์
- อัตราการผลิตของแบรนด์ ต่าง ๆ คงที่ แต่ปริมาณการใช้งานเพิ่มมากขึ้น ทำให้อิฐไม่พอต่อการใช้งานในประเทศ จะเห็นได้ว่าในบางช่วงที่เศรษฐกิจดี ๆ การก่อสร้างขยายตัว ทำให้อิฐไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
- อิฐมวลเบา มีวัตถุดิบที่ทำมาจากแร่ยิปซั่ม บางครั้งต้อง ทำเข้ามาจาก ต่างประเทศ จึงทำให้มีปัจจัย อื่น ๆ ที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาวะสงคราม รัฐเซีย ยูเครน เป็นต้น
- อิฐมอญ
อิฐมอญ คือ ประเภทของอิฐแบบดั้งเดิมซึ่งถูกใช้กันมายาวนานตั้งแต่ยุคอดีต วัสดุหลักทำจากดินเหนียวปั้นให้เป็นรูปทรง ลวดลาย หรือขนาดตามต้องการ จากนั้นก็เข้าสู่ขั้นตอนการเผาจึงคงรูปได้ดี แข็งแรงมาก และมีสีแดงเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน (บางคนมักเรียก อิฐแดง) ขนาดเล็กเมื่อเทียบกับอิฐประเภทอื่น รูปแบบเลือกได้ทั้งมีรูตรงกลาง 2 รู แบบก้อนทึบ และแบบก้อนเบิ้ล (ขนาดจะใหญ่กว่าเดิมเล็กน้อยและมีรูตรงกลาง) นิยมนำมาใช้กับการทำผนังภายนอก เช่น รั้ว กำแพงบ้าน เพียงแค่ก่อด้วยปูนซีเมนต์ผสมทราย หรือ ปูนมอร์ตาร์ ก็ลงมือได้ทันที และยังถือเป็นวัสดุพื้นฐานของช่างก่อสร้างแทบทุกคนอีกด้วย สำหรับในประเทศไทยจากการศึกษาทางประวัติศาสตร์ มีสถานที่และ เมือง โบราณ เมืองเก่า สมัยก่อน ที่ยังคง หลงเหลือ ไว้ให้ดูต่างหน้า ก็จะเห็นได้ ว่าผนังของอาคาร บ้านเก่า เมืองเก่า ทำมาจากอิฐมอญ อิฐแดง นั่นเอง ในสมัยก่อนอิฐแดง หรืออิฐมอญ มีต้นกำเนิดมาจากชาวมอนที่ย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทยมีฝีมือในการทำอิฐที่ใช้ดินเหนียวมา ปั้นขึ้นรูป แล้วนำไปเผาไฟ อิฐก็จะสุก ออกเป็นสีเหลือง ๆ แดง ๆ เค้าก็เลยเรียกว่าอิฐแดง ส่วนคำว่าอิฐมอญนั้น สันนิษฐานได้ว่า ชาวมอญได้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้มีฝีมือในการทำอิฐ ประเภทนี้จึงใช้ทำการสร้างบ้านเรือนด้วยอิฐมอญประเภทนี้เป็นส่วนใหญ่
ดังจะเห็นได้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจากโบราณสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์ชุมชนชาวมอนในประเทศไทยประกอบอาชีพการทำอิฐมอญ มีหลายแห่ง ได้แก่สามโคกปทุมธานีเมืองนครสวรรค์ และหลาย ๆ อำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อก่อนนี้การทำอิฐมอญ ทำมาจากดินจากแม่น้ำ มีเนื้อละเอียดปนทรายซึ่งมีคุณลักษณะพิเศษไม่เหนียวมากจนเกินไป แต่ปัจจุบันดินแม่น้ำต้องเสียค่าใช้จ่ายมากจึงหันไปใช้ดินจากพื้นที่ลุ่มมีคุณสมบัติเหมือนดินแม่น้ำ เป็นดินสองชั้นชั้นบนเป็นดินเหนียวปนทรายส่วนชั้นล่างเป็นดินเหนียวล้วนเมื่อขุดมารวมกันก็จะได้ดินเหนียวปนทรายเนื้อดีดี นอกจากเรียนแล้วยังประกอบด้วยแกรบและขี้เถ้าเป็นส่วนประกอบสำคัญก่อนจะมาผสมให้เข้ากันตากแห้งแล้วก็เข้าเตาอบเพื่อที่จะเผา อิสมอนที่ดีจะมีสีส้มสดทั่วทั้งก้อนแต่งมีคุณภาพสามารถนำไปใช้งานได้ทันที อาชีพการทำอิฐมอญและเครื่องปั้นดินเผาถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวมอญมาตั้งแต่โบราณและมีการสืบทอดมาสู่ลูกหลานกระทั่งปัจจุบันนี้
แม้คนมอญ ที่ประกอบอาชีพนี้จากค่อยค่อยหายไป แต่ชื่อของอิฐมอญ ก็ยังคงอยู่ตลอดไป ถึงแม้ว่าในปัจจุบันลูกหลานคนมอญแท้ ๆ ที่สืบทอดต้นตำรับในการทำอิฐมอญ แบบดั้งเดิมมีเหลืออยู่ให้เห็นไม่มากนัก ส่วนคนรุ่นใหม่ ที่หันมาประกอบอาชีพทำอิฐแดงอิฐมอญขาย ก็มีเทคนิคหรือการทำอิฐมอญที่ยังยึดแบบต้นตำรับคนมอญแท้ ๆ ทำให้อาชีพอิฐมอญยังไม่หายไปจากประเทศไทย ทำให้ผู้ที่ก่อสร้างสมัยใหม่ก็ยังสามารถใช้อิฐที่มีคุณภาพเหมือนสมัยก่อน ๆ ได้วิวัฒนาการของอิฐมอญ ปัจจุบันอิฐแดงหรือ อิฐมอญถูกพัฒนาให้มีความหลากหลาย และมีขนาดที่แตกต่างจากอิฐมอญแบบดั้งเดิม จากเมื่อก่อนนี้อิฐมอญแบบปั้นมือ คือใช้มือในการขึ้นรูป แต่ในปัจจุบันนี้การทำอิฐมอญ มีเครื่องจักรเข้ามาช่วย ทำให้รูปทรงของอิฐมอญ หรือจำนวนรูของอิฐมอญก็มีหลากหลายและแตกต่างกันออกไป ตามเครื่องจักรที่ใช้ในการทำอิฐมอญ เมื่อก่อนนี้ขนาดอิฐมอญโดยทั่วไปมีขนาด เล็ก เป็นอิฐมอญแบบตัน หรือที่เราเรียกว่าอิฐมอญตันมือ มีขนาดื 3*6*14 ซม หรือใหญ่ขึ้นมาอีก ก็ขนาด อิฐมอญตันมือ 5*10 *20 ซม. หรือ ใหญ่จึ้นมากว่านั้น เป็นอิฐมอญ ตัน ขนาด 5*15*30 ซม. แต่ในปัจจุบันมีเครื่องจักรในการมาใช้ช่วยผลิตอิฐมอญ จึงเกิดเป็นอิฐมอญ 2 รู ขนาด 3*6*14 ซม อิฐมอญ 2 รูใหญ่ ขนาด 5*6*15 ซม. อิฐมอญ 4 รู ขนาด 5*6*15 ซม และมีอิฐมอญ ที่เกิดขึ้นขนาดใหญ่ขึ้นหลายหลายรู เช่น อิฐมอญ 3 รู อิฐมอญ 8 รูเป็นต้น
ราคาโดยรวมของผนังก่ออิฐแดงใน 1 ตรม. มีดังนี้
อิฐแดงใช้ 140 ก้อน *0.90 บาท = 126 บ./ตรม (ใช้อิฐขนาด 3*6*14 ซม.) ตันมือทั่วไป
ปูนก่อสำเร็จรูป 1 ถุง 50 กก. ก่อได้เฉลี่ย 2.5ตร.ม. (ก่อปูนหนา 1-1.5 ซม.) คิดปูนก่อสำเร็จรูป ถุงละ 85 บาท ฉะนั้น 1 ตรม.ใช้ปูนก่อ = 34 บ./ตรม ค่าปูนฉาบสำเร็จรูป 1 ถุง 50 กก. ฉาบได้เฉลี่ย 2 ตร.ม. . (ฉาบหนา 1-1.5 ซม.)คิดปูนฉาบ สำ เร็จรูปถุงละ 90 บาทฉะนั้น 1 ตรม.ใช้ปูนฉาบ = 45 บ./ตรม ค่าแรงเหมาก่อ 1 ตรม. เป็นเงิน 150บาทฉะนั้น สรุปรวมค่าใช้ผนังแดง ต่อ 1 ตารางเมตรฉาบปูนข้างเดียว เป็นเงิน = 355บ/ตรม.
(ข้อมูลในเบื้องต้นเป็นการประมาณเคร่า ๆ ซึ่ง ขึ้นอยู่กับปัจจัย ต่าง ๆ เช่น ฝีมือแรงงาน สถานที่ในการทำงาน ความหนาของผนังฉาบ และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ราคาวัสดุในแต่ละพื้นของวัสดุนั้น)
หลังจากที่เราได้รู้จัก ที่มาที่ไปในเชิงลึกของอิฐมอญ รวมถึงวิวัฒนาการต่างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแล้ว เดียวเรามาดูกันว่า อิฐมอญดังกล่าว มีข้อดีข้อเสีย อย่างไรถ้าเรานำไปใช้งาน- ข้อดีของอิฐมอญ
- แข็งแรงทนทานต่อทุกสภาพอากาศไม่ว่าจะฝน ความชื้น แดดร้อนแรงก็หายห่วงอยู่ได้หลายสิบปี
- ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับความแข็งแรงที่ได้รับ
- หาช่างในการก่อสร้างได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้บริการช่างเฉพาะทางช่างส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยและมีความชำนาญในการใช้งานเป็นอย่างดี
- รับน้ำหนักได้ดีมาก เหมาะกับการทำเป็นผนังแขวน หรือมีการเจาะรูเยอะ เช่น แขวนทีวี แขวนแอร์
- ง่ายต่อการขนย้าย การเก็บรักษา และทนทานต่อสภาพอากาศ
- อิฐมอญ สมัยใหม่มีขนาดให้เลือกได้หลากหลายมากขึ้น
- เวลาเจาะหรือสกัดเพื่อวางระบบท่อต่าง ๆ ผนังจะแข็งแรงกว่าอิฐประเภทอื่น
- การเลือกใช้อิฐมอญช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับชุมชนของบ้านเราเอง
- งานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ นิยมใช้อิฐมอญในการตกแต่งมากขึ้น
- งานก่อผนังอิฐมอญ ไม่ต้องฉาบปูนทับ ก็แข็งแรง และสวยงาม ประหยัดปูนฉาบและดูทันสมัยได้
- ผนังก่ออิฐมอญ มีความชื่อและความไว้วางใจจากคนยุคเก่าจนถึงปัจจุบัน
- อิฐประเภทนี้ ได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก) ทำให้มั่นใจในคุณภาพระดับสากล
- ข้อเสียของอิฐมอญ
- มักสะสมความร้อนจึงทำให้ภายในบ้านร้อนมากขึ้น จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการก่ออิฐแบบ 2 ชั้น
- ขนาดเล็กแต่น้ำหนักเยอะ จึงต้องใช้เวลาก่อนานกว่าอิฐประเภทอื่น
- ก่อนการก่อผนังต้องนำอิฐมอญไปแช่ในน้ำเพื่อให้ดูดซับความชื้น
- อิฐมอญมีน้ำหนักที่สูงกว่าอิฐชนิดอื่น ๆ เมื่อเทียบต่อตารางเมตร อาจมีผลต่อน้ำหนักของโครงสร้างในภาพรวม
- ไม่เหมาะกับการนำไปใช้งานอาคารสูงหรือการก่อสร้าง ที่ต้องการความรวดเร็ว
- ถ้าไม่เลือกอิฐมอญ แบบมี มอก. คุณภาพของอิฐอาจไม่ดีเท่าที่ควร หรือความเที่ยงตรงของอิฐอาจไม่เที่ยงตรง เท่าที่ควร
จากบทความที่กล่าวมาในข้างต้น เราจะได้ความรู้ในด้านต่าง ๆ ในหลาย ๆ แง่มุม ของงานก่อผนัง อิฐบล็อก อิฐมวลเบา และ อิฐมอญ จะทำให้ทุกคนตัดสินใจเลือกใช้งานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม แต่สิ่งสำคัญที่อย่ามองข้ามอีกเรื่องนั่นคือการเลือกซื้อวัสดุที่มีมาตรฐานระดับสากล เพื่อให้ผลงานออกมาได้คุณภาพตามที่คาดหวังเอาไว้ หวังว่าผู้บริโภคจะได้มีข้อมูลในการตัดใจเลือกใช้อิฐก่อผนัง ให้ตรงตามฟังก์ชั่นการใช้งานรวมถึงความสวยงาม ทางด้านสถาปัตยกรรมย์ จึงขอแนะนำ ทีริช คอนสทรัคชั่น (ไทยแลนด์) ในเครือของ ทีริช อินกรุ๊ป ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอิฐบล็อก อิฐมวลเบา อิฐมอญ กระเบื้องหลังคา แผ่นพื้นสำเร็จรูป เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง รวมถึงยังมีบริการออกแบบ ก่อสร้าง ให้ครบวงจรโดยทีมสถาปนิกและวิศวกรมากประสบการณ์
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอิฐบล็อก VS อิฐมวลเบา VS อิฐมอญ
โทร : 02-988-5559, 081-549-5666
Line : @TRICH